ลิงค์ผู้สนับสนุน

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รวมรายชื่อโรงพยาบาลและสถานพยาบาลที่รับตรวจหาเชื้อไข้หวัด 2009

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจหาเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ 2009

การตรวจด้วยความสมัครใจของผู้ต้องการตรวจหาเชื้อสามารถทำได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบ หรืออยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ (แพทย์ต้องเป็นผู้ส่งตรวจ) ซึ่งสามารถรับบริการได้ที่โรงพยาบาลรัฐบาล และเอกชนทั่วไป (บางโรงพยาบาลไม่รับตรวจ ควรโทรศัพท์สอบถามโดยตรง)

ราคากลางของการตรวจสอบ จะอยู่ที่ 3,500 – 4,000 บาท (สำหรับโรงพยาบาลของรัฐบาล) ส่วนเอกชนอาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม ( ควรสอบถามโดยตรงจากโรงพยาบาลก่อนเข้ารับบริการเพราะแต่ละที่ไม่ยืนยันตัวเลข และอาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทางการแพทย์เพิ่มเติมอีก)

วิธีการตรวจ จะใช้ สารคัดหลั่ง ของผู้ป่วย เพื่อการตรวจหาเชื้อ (ไม่ใช้การเจาะเลือด) สำลีพันปลายไม้ (cotton bud) พันเข้าไปในโพรงจมูก และนำสารที่ติดมาไปตรวจหาเชื้อต่อไป

ทุกโรงพยาบาลที่รับตรวจ สุดท้ายจะส่งผลมายัง “กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์” อยู่ดี เพราะที่นี่เป็นศูนย์กลางของการตรวจเชื้อ, ผลที่ได้จะถูกส่งกลับไปยังโรงพยาบาล และแพทย์แจ้งผลกับผู้ต้องการตรวจอีกครั้งหนึ่ง

ระยะเวลาการรอผลปัจจุบันอยู่ที่ 3-4 วัน เนื่องจากในแต่ละวัน ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องทำการตรวจเชื้อถึงวันละ 4,000 ราย (โดยประมาณ) … (โดยปกติที่เรื่องนี้ยังไม่บูม 24 ช.ม. ก็ทราบผล)

ขั้นตอนของการตรวจหาเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ 2009 จะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ
ระดับแรก คือ แรพพิด (Rapid) หรือ การตรวจหาเชื้อในโพรงจมูกและช่องคอ เพื่อตรวจสอบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สาย A หรือไม่, ถ้าไม่ใช่ ก็ไม่ตรวจขั้น 2 ต่อ ถ้าใช่ต้องตรวจเพื่อยืนยันเชื้อ H1N1 ต่อไป

ระดับที่ 2 คือ การตรวจเพื่อยืนยันเชื้อ H1N1 ราคา 3,000 บาท ซึ่งหลักเกณฑ์การคัดกรองผู้ป่วยจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับกระทรวงสาธารณสุข



รายชื่อสถานพยาบาลที่รับตรวจหาเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ 2009

โรงพยาบาล โทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายการตรวจเชื้อ (โดยประมาณ) ทราบผลการตรวจ หมายเหตุ
ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่ 2009
โรงพยาบาลศิริราช 02-411-0241-9

สอบถามกับคุณหมอ
โรงพยาบาลรามาธิบดี 02-354-7182-257
1000 - 2200 บาท 1 สัปดาห์
โรงพยาบาลจุฬา 02-256-4000
3000 บาท 1 สัปดาห์
โรงพยาบาลกลาง 02-211-6141-54 ไม่มีการตรวจ 3500 บาท 1 สัปดาห์
โรงพยาบาลตำรวจ 02-207-6000

สอบถามกับคุณหมอ

รพ. ธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ (คลองหลวง)

02-926-9999


ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น 3,050- 3,500 บาท

3 วัน

ติดต่อแผนกฉุกเฉิน

รพ.จุฬารัตน์ (บางนา-ตราด)

02-316-9516


สแกนเบื้องต้น 500 บาท
ตรวจเพื่อยืนยัน 3,000 บาท

24 ชั่วโมง ติดต่อแผนกเวชระเบียน

รพ.เซ็นทรัลปาร์ค
(บางนา-ตราด)

02-312-7262


ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น 3,500 บาท

3 วัน ติดต่อแผนกเวชระเบียน
โรงพยาบาลเปาโล (สมุทรปราการ) 02-389-2555
สแกนเบื้องต้น 800 บาท
ตรวจเพื่อยืนยัน 3,500 บาท (ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายทางการแพทย์)


โรงพยาบาลนนทเวช
(งามวงศ์วาน)
02-589-0102
สแกนเบื้องต้น 750 บาท
ตรวจเพื่อยืนยันไม่เกิน 4,000 บาท
1 วัน
7 วัน
ติดต่อแผนกเวชระเบียน
โรงพยาบาลธนบุรี 1
(อิสรภาพ)
02-412-0020
สแกนเบื้องต้น 500 บาท
ตรวจเพื่อยืนยันไม่เกิน 3,500 บาท
1 วัน
4 วัน
ติดต่อแผนกเวชระเบียน
โรงพยาบาลมงกุฏวัฒนะ
(แจ้งวัฒนะ)
02-574-5000
เบื้องต้น 4,000 บาท 3 วัน ติดต่อแผนกอายุรกรรม
โรงพยาบาลมิชชั่น
(ถนนพิษณุโลก)
02-281-1422
เบื้องต้น 4,500 บาท 3 วัน
โรงพยาบาลเมโย
(พหลโยธิน)
02-579-1770
3,000 – 3,500 บาท
สอบถามโดยตรง
กับทางโรงพยาบาล
โรงพยาบาลรามคำแหง
(รามคำแหง)
02-74-0201
เบื้องต้น 3,500 บาท 1-2 วัน

สอบถามโดยตรง
กับทางโรงพยาบาล

โรงพยาบาลลาดพร้าว
(ลาดพร้าว 95-97)
02-932-2929
เบื้องต้น 3,800 บาท 3 วัน สอบถามโดยตรง
กับทางโรงพยาบาล
โรงพยาบาลวิภาวดี
(งามวงศ์วาน)
02-561-1258-67 750 บาท เบื้องต้น 3000 บาท 4 - 5วัน สอบถามโดยตรง
กับทางโรงพยาบาล
โรงพยาบาลเซ็นทรัล เยนเนอรัล (พหลโยธิน) 02-552-8777
สแกนเบื้องต้น 1,100 บาท
ตรวจเพื่อยืนยันไม่เกิน 2,900 บาท
1 วัน ติดต่อแผนกเวชระเบียน
โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา
(รามคำแหง)
02-314-0726
สแกนเบื้องต้น 800 บาท
ตรวจเพื่อยืนยัน (แล้วแต่กรณี)
1 วัน ติดต่อแผนกเวชระเบียน
โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล
(พหลโยธิน)
02-271-0227
สแกนเบื้องต้น 500 บาท
ตรวจเพื่อยืนยันไม่เกิน 5,000 บาท
5 วัน ติดต่อแผนกอายุรกรรม
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
(พระราม 4)
02-252-8181


ต้องพบแพทย์เพื่อ
วินิจฉัยอาการเท่านั้น
โรงพยาบาลเซ็นหลุยส์
(สาธรใต้)
02-675-9300
เบื้องต้น 3,000 บาท (ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายทางการแพทย์) 3 วัน ติดต่อประชาสัมพันธ์, เวชระเบียน
โรงพยาบาลปิยะเวท
(พระราม 9)
02-641-4499
สแกนเบื้องต้น 500 บาท
ตรวจเพื่อยืนยันไม่เกิน 3,000 บาท
1 วัน
2 วัน
ติดต่อแผนกเวชระเบียน
โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท
(พระราม 4)
02-381-2006-20
สแกนเบื้องต้น 600 บาท
ตรวจเพื่อยืนยันไม่เกิน 4,000 บาท (ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายทางการแพทย์)

ติดต่อแผนกผู้ป่วยนอก
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น 02-910-1600 สอบถามกับทาง โรงพยาบาล ไม่รับตรวจ

โรงพยาบาลเปาโล 02-279-7000 800 บาท 3000 บาท (ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายทางการแพทย์) 3 วัน สอบถามโดยตรง
กับทางโรงพยาบาล
โรงพยาบาลเวชธานี 02-734-0000 700 บาท 2900 บาท (ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายทางการแพทย์) 1 สัปดาห์ สอบถามโดยตรง
กับทางโรงพยาบาล
โรงพยาบาลพญาไท
สอบถามกับทาง โรงพยาบาล 3500 บาท (ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายทางการแพทย์) 4 - 5 วัน สอบถามโดยตรง
กับทางโรงพยาบาล

สอบถามเพิ่มเติม
ติดต่อศูนย์บริการข้อมูลทางฮ็อตไลน์ ของศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994 และ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333 ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา: http://health.kapook.com/flu2009.php

"องค์การเภสัชกรรม" ลดราคายาต้านไวรัสไข้หวัด 2009 หรือ "โอเซลทามิเวียร์"

"โอเซลทามิเวียร์” จาก 40เหลือ 25บาท การันตีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 นำเข้าจากฝรั่งเศสปลอดภัย หากคนฉีดเกิดอันตรายรุนแรง สปสช. พร้อมจ่ายค่าชดเชยทันที...



นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า องค์การเภสัชกรรม จะลดราคายาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ หรือชื่อการค้า จีพีโอ เอฟลู ที่ใช้ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จากเดิมเม็ดละ 40 บาท เหลือเม็ดละ 25 บาท เพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงยาชนิดนี้ เนื่องจากปัจจุบันมีความต้องการใช้ยานี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีการกระจายยาชนิดนี้ไปยังโรงพยาบาลต่างๆแล้ว 5 ล้านเม็ดและอยู่ระหว่างการผลิตเพิ่มอีก 10 ล้านเม็ด และได้กระจายยาไปยังโรงพยาบาลทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยจะลดราคาในล็อตการผลิต 10 ล้านเม็ด เพื่อรองรับผู้ป่วย 1.5 ล้านคน อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอาจจะมีการพิจารณาสั่งสำรองยาเพิ่มเติม ภายใต้หลักการให้มียาใช้อย่างเพียงพอแต่ไม่ใช้อย่างพร่ำเพรื่อเพราะอาจทำให้ เชื้อดื้อยา

ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม กล่าวต่อว่า วัคซีนที่ไทยสั่งซื้อจากบริษัทในประเทศฝรั่งเศสจำนวน 2 ล้านโดส ผลิตจากเชื้อตาย และเป็นชนิดฉีด ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดระลอกที่ 2 โดยมั่นใจว่ามีความปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ก่อนส่งมอบวัคซีนให้กับไทย บริษัทจะต้องขึ้นทะเบียนยากับองค์การอาหารและยาของสหภาพยุโรป สร้างความเชื่อมั่นได้ว่าหากผ่านการขึ้นทะเบียนดังกล่าว ก็ปลอดภัย และขณะนี้ทั่วโลกมีการสั่งจองวัคซีนแล้ว 600 ล้านโดส ซึ่งวัคซีนไข้หวัดใหญ่2009ที่ไทยสั่งจอง หากได้รับการรับรองให้ขึ้นทะเบียนจากองค์การอาหารและยาของสหภาพยุโรปแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยอีก เพราะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 เดือน จึงต้องชั่งน้ำหนักระหว่างความปลอดภัยอีกเล็กน้อย กับความเสี่ยงของประชาชนต่อโรคนี้

นพ.วิชัย กล่าวอีกว่า วัคซีนที่อภ.จะผลิตเองจะเป็นวัคซีนชนิดพ่น จากการเพาะเชื้อในไข่และทดลองในสัตว์หากได้ผลตามเป้าหมายแล้ว จะต้องทดลองในคนโดยใช้เวลาอีกประมาณ 120 วัน จึงจะสามารถนำมาฉีดให้กับประชาชนได้ ซึ่งการทดลองในคนจะดำเนินการโดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1.ระยะแรกจะพ่นวัคซีนให้กับอาสาสมัคร 30 คน เพื่อวัดขนาดปริมาณวัคซีนที่เหมาะสมต่อการสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นในตัว บุคคล และระยะที่ 2 จำนวน 400 คน ทั้งกลุ่มเด็ก หนุ่มสาวและผู้สูงอายุ เพื่อศึกษาว่ามีความปลอดภัยและกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้จริงหรือไม่

“วัค ซีนที่อภ.ผลิตจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานทุกล็อตการผลิตก่อนนำฉีด ให้กับประชาชน โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะรับผิดชอบในการนำวัคซีนที่อภ.ผลิตได้ไปตรวจสอบ คุณภาพเพื่อประกันความปลอดภัย ซึ่งดำเนินการเป็นไปอย่างดีตามที่มีการคาดการณ์ไว้จะสามารถผลิตได้ 2.8 ล้านโดสต่อเดือนและในอีก 4 เดือนจะมีวัคซีน 10 ล้านโดส ซึ่งยังไม่เพียงพอกับประชาชนแต่หากเปรียบเทียบกับหลายประเทศทั่วโลกถือว่า ไทยดีกว่ามาก นอกจากนี้ ได้มีการประสานกับองค์การอนามัยโลกเพื่อที่จะขอเงินสนับสนุนอีกประมาณ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯในการที่จะปรับปรุงโรงงานวัคซีนของกรมปศุสัตว์ให้เข้าเป็น ส่วนหนึ่งในการเร่งการผลิตวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009ด้วย” ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม กล่าว

นพ.วิชัย กล่าวด้วยว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่ถือเป็นหลักสากลทั่วโลกว่าไม่ต้องทดลองในคนถึงระยะที่ 3 ว่าสามารถป้องกันโรคได้หรือไม่ เพราะธรรมชาติของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในแต่ละปีจะเป็นคนละสาย พันธุ์ กัน หากรอให้มีการทดลองว่าป้องกันโรคได้จริง วัคซีนนั้นก็ไม่ทันกับการนำมาใช้ อีกทั้งการฉีดวัคซีนป้องกันไขหวัดใหญ่หากสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ จะมีผลให้ป้องกันโรคได้เองไม่เหมือนวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ที่จะต้องกระตุ้น ภูมิคุ้มกันให้มากพอที่จะป้องกันโรคได้ ซึ่งโดยปกติของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะเกิดผลข้างเคียงในอัตราที่ต่ำมาก มีเพียงอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัวเล็กน้อยเท่านั้น เว้นแต่ในรายที่มีการแพ้ไข่ไก่อาจจะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงเหมือนการทาน ไข่โดยตรง

ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม กล่าวถึงการที่บริษัทผู้ผลิตวัคซีนต้องระบุแนบท้ายสัญญาการสั่งจองวัคซีนว่า จะไม่รับรองผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ถือเป็นหลักปฏิบัติสากลทั่วโลกของการสั่งจองวัคซีนในขณะที่มีสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรค ที่บริษัทจะไม่รับประกันผลข้างเคียง ซึ่งแต่ละประเทศต้องยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว สำหรับประเทศไทย หากประชาชนที่ได้รับวัคซีนเกิดผลข้างเคียงขึ้น หน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบคือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) โดยอาศัยตามมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ที่มีกองทุนชดเชยความเสียหายจากการรับบริการด้านสาธารณสุขโดยไม่ต้องมีการ พิสูจน์ถูกผิด ซึ่งปัจจุบันก็มีการดำเนินการเช่นนี้ในผู้รับวัคซีนชนิดอื่นที่เกิดผลข้าง เคียงขึ้นเช่นกัน

ต่อข้อถามที่ว่านพ.สุชัย เจริญรัตนกุล อดีตรมว.สธ. ออกมาระบุว่าควรให้ประเทศอื่นทดลองใช้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่ 2009 ก่อนอย่างน้อย 3 เดือนนั้น นพ.วิชัย กล่าวว่า หากจะรอความมั่นใจให้มีการใช้วัคซีนแล้ว 3 เดือนจึงค่อยนำมาฉีดให้กับคนไทย เท่ากับต้องให้ประชาชนเสี่ยงป่วยและเสี่ยงชีวิตอีก 3 เดือน ดังนั้น ต้องมีการชั่งน้ำหนักประโยชน์กับความเสี่ยง ซึ่งเชื่อว่าประชาชนส่วนหนึ่งอาจเลือกทำตามคำแนะนำของนพ.สุชัยด้วย การรอดูผลการฉีดวัคซีนก่อนเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็มีบางคนที่มั่นใจต้องการฉีดวัคซีนก่อนใคร ซึ่งการฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้กับผู้นำประเทศเป็นไปตามหลักสากลอยู่แล้ว การที่นายกรัฐมนตรีพูดว่าอาจจะไม่รับวัคซีนที่อภ.ผลิตนั้น คงออกตัวที่จะไม่รับวัคซีนเพราะกลัวจะถูกหาว่ามีสิทธิพิเศษไม่ใช่การไม่กล้า ฉีดและคงอยากใช้สิทธิของประชาชนทั่วไป ตามหลักการแล้ว การฉีดวัคซีนเป็นเรื่องของความสมัครใจ ถ้าหาก ปฏิเสธการฉีดวัคซีนก็ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล

ด้านนพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ในการรองรับการใช้วัคซีนแบบพ่นที่อภ.จะผลิตได้ในประมาณเดือนต.ค.-พ.ย.นี้ ได้มีการสั่งจองเข็มฉีดพ่นเข้าจมูกจำนวน 3 ล้านชิ้นที่ผลิตในประเทศแล้ว ขณะเดียวกันฝ่ายวิจัยและพัฒนาของอภ.ได้ทำการวิจัยสารสังเคราะห์วัตถุดิบใน การผลิตยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ได้เอง จากเดิมที่เคยสั่งวัตถุดิบจากอินเดีย ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการผลิตยาชนิดนี้ในอนาคต เพราะปัจจุบันวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยาโอเซลทามิเวียร์ขยับราคาสูงขึ้นกว่า 50 %แล้ว จำเป็นต้องหารือกับกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับราคาขายต่อเม็ดอีกครั้งหนึ่ง

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/19989

เชื้อไข้หวัด2009 ระบาดเร็ว ยอดผู้ติดเชื้อพุ่ง "องค์การอนามัยโลก" หรือ "WHO" รับนับไม่ทัน

แถลงการณ์ระบุว่า ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในปีนี้แพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วซึ่ง ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งที่ผ่านมาไวรัสไข้หวัดใหญ่จะต้องใช้เวลานานกว่า 6 เดือนจึงจะระบาดในวงกว้างได้ แต่เชื้อไวรัสเอช 1 เอ็น 1 กลับใช้เวลาไม่ถึง 6 สัปดาห์.....


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานวันนี้(17 ก.ค.)องค์การอนามัยโลก แถลงว่า ไวรัสเอช 1 เอ็น 1 โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ระบาดไปรวดเร็วมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จนนับจำนวนผู้ติดเชื้อไม่ทันแล้ว

ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลก ประกาศให้ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 เป็นโรคระบาดตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน และได้แนะนำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในประเทศต่าง ๆ เน้นการติดตามในกรณีผู้ป่วยหนักหรือผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสดังกล่าว แถลงการณ์ระบุว่า ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในปีนี้แพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วซึ่ง ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งที่ผ่านมาไวรัสไข้หวัดใหญ่จะต้องใช้เวลานานกว่า 6 เดือนจึงจะระบาดในวงกว้างได้ แต่เชื้อไวรัสเอช 1 เอ็น 1 กลับใช้เวลาไม่ถึง 6 สัปดาห์ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะนับจำนวนผู้ติดเชื้อได้ครบ ถ้วนและถือเป็นการเสียเวลาเปล่า


รายงาน ข่าวระบุว่า คณะผู้เชี่ยวชาญด้านไข้หวัดใหญ่คาด ว่า ประชาชนอย่างน้อย 1 ล้านคน ในสหรัฐติดเชื้อไวรัสเอช 1 เอ็น 1 โดยที่ไม่อาจยับยั้งการระบาดได้ ดังนั้นนานาประเทศควรติดตามอย่างใกล้ชิดเฉพาะกรณีที่มีการติดเชื้ออย่าง รุนแรง ผู้ป่วยหนัก และการป่วยโรคไม่ทราบสาเหตุ ทุกประเทศควรตรวจสอบตัวอย่างเชื้อไวรัสทุกสัปดาห์ และติดตามการเปลี่ยนแปลงของเชื้อไวรัสซึ่งมีส่วนสำคัญในการใช้พัฒนาวัคซีน ต่อไป.

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/20107