ลิงค์ผู้สนับสนุน

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

"โซนี่ มิวสิค" แถลงอาการป่วย "ทาทา ยัง" แพทย์ระบุอาการเข้าข่ายต้องสงสัยติดไข้หวัด 2009

โซนี่ มิวสิค แถลงอาการป่วยของนักร้องซูเปอร์สตาร์ ทาทา ยัง ยังทรง พร้อมเผยถึงอาการป่วยอย่างละเอียดก่อนถึงมือหมอ แพทย์ระบุอาการเข้าข่ายต้องสงสัยไข้หวัด 2009...



จากอาการป่วยของ นักร้องสาวซูเปอร์สตาร์ อมิตา ทาทา ยัง ที่มีแฟนๆเป็นห่วงและเฝ้าติดตามอาการมาโดยตลอด ล่าสุด โซนี่ มิวสิค ต้นสังกัดเปิดเผยว่า อาการป่วยของนักร้องสาวยังทรง ต้องรอผลตรวจจากแพทย์เจ้าของไข้อีกครั้ง คาดรู้ผลภายใน 48 ชั่วโมง หรือในวันพรุ่งนี้ (22 ก.ค.)

โดยเบื้องต้นทางโซนี่ มิวสิค เปิดเผยว่า ทาทาเริ่มมีอาการท้องเสีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย เจ็บคอและมีอาการไอร่วมด้วยเล็กน้อย ตั้งแต่ช่วง 17.00 น.ของเย็นวันจันทร์ที่ 20 ก.ค. ซึ่งทางทาทาได้โทรแจ้งให้ผู้จัดการส่วนตัวทราบว่าไม่ค่อยสบาย จากนั้นช่วงค่ำเริ่มมีไข้ และไอหนักขึ้น ประกอบกับอาการหนาวสะท้าน โดยได้โทรอัพเดตอาการให้ผู้จัดการส่วนตัวทราบอีกครั้ง ก่อนที่ตนจะกินยาพาราเซตามอลและนอนพัก ซึ่งระหว่างนั้นทาทามีอาการหนาวสั่นสะท้านมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่ตนก็ห่มผ้าหนาและไม่ได้เปิดแอร์ จนเมื่อเวลา 03.00 น ของวันนี้ (21 ก.ค.) ก็มีไข้สูง รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ และทนไม่ไหว จึงโทรให้ผู้จัดการมารับไปโรงพยาบาล ซึ่งขณะเดินทางไม่ได้เปิดแอร์ เพียงแต่ลดกระจกรถลงเล็กน้อยเพื่อให้หายใจสะดวก แต่ทาทากลับหนาวสั่นจนฟันกระทบกัน และจู่ๆก็ร้อนขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยมีอาการสลับกันอยู่ตลอดเวลา

เมื่อถึงโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท แพทย์หญิงอรอุมา บรรพมัย แพทย์เจ้าของไข้ได้ตรวจอาการเบื้องต้น และสั่งแอดมิดทันทีเพื่อรอผลตรวจอย่างเป็นทางการหลัง 48 ชั่วโมง เพราะทาทามีอาการหลายอย่างที่เข้าข่ายต้องสงสัยเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งจากเมื่อคืนที่ผ่านมาจนกระทั่งเย็นวันนี้ (21 ก.ค.) อาการของทาทายังทรง ซึ่งแพทย์ได้ให้ยาและดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเจ้าตัวมีอาการอ่อนเพลียและนอนหลับสลับกับขยับตัวบ้างเล็กน้อยอยู่เป็น ระยะๆ โดยในวันพรุ่งนี้ (22 ก.ค.) ช่วงเย็น จะมีการแถลงถึงผลสรุปอาการป่วยของซูเปอร์สตาร์สาวอย่างเป็นทางการจากทีม แพทย์ รพ.สมิติเวช สุขุมวิท และพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา บิ๊กบอสค่ายโซนี่ มิวสิค ที่ รพ.สมิติเวช สุขุมวิท ส่วนเวลาจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง แต่คาดว่าประมาณ 16.00 น.

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/ent/21137

สาธารณสุขพิมพ์คู่มือประชนชน สำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยไข้หวัด 2009 6หมื่นเล่มแจกรพ.ทั่วประเทศ

เพื่อเป็นกรอบแนวในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ พร้อมพิมพ์คู่มือประชาชนเพิ่มอีก 4 ล้านฉบับ..


วันนี้ (20 ก.ค.) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 8 เพื่อกำหนดทิศทางหลักสูตรการศึกษาทางการแพทย์ และสร้างจิตวิญญาณของแพทย์ในการรักษาผู้ป่วย ว่า เรื่องเร่งด่วนที่เป็นเรื่องใหม่ของวงการแพทย์ขณะนี้คือ การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับอาจารย์แพทย์จากสถาบันแพทยศาสตร์ศึกษาต่างๆ จัดทำคู่มือทางการแพทย์ เพื่อเป็นกรอบแนวในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ทั้งสถานพยาบาลภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยว่าจะได้รับการรักษาอย่างดีที่สุดจากโรง พยาบาลทุกแห่ง ขณะนี้จัดพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว 60,000 เล่ม จะทยอยส่งให้โรงพยาบาลทั่วประเทศตั้งแต่วันนี้

นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในส่วนของประชาชน ได้จัดทำคู่มือคำแนะนำประชาชนเรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ฉบับพกพาเพิ่มอีก 4 ล้านฉบับ เป็นคำแนะนำให้ประชาชนรู้จักโรค วิธีป้องกันตนเอง การปฏิบัติตัวเมื่อป่วย ที่เข้าใจง่าย จะเริ่มแจกวันนี้ในเขต กทม. โดยวางในโรงพยาบาลทุกแห่ง ในต่างจังหวัดจะเริ่มส่งให้ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค. เป็นต้นไป เพื่อกระจายไปยังโรงพยาบาลทุกระดับ สถานีอนามัยทุกแห่ง ศาลากลางจังหวัด รวมทั้งร้านสะดวกซื้อต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา

รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้ประสานความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อป้องกันบุคลากรของทั้ง 3 กระทรวง ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยจำกัดพื้นที่การระบาดและลดจำนวนผู้ป่วยได้อีกทางหนึ่ง โดยจะหารือกันในบ่ายวันนี้

สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้หวัด ใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ในรอบ 2-3 วันนี้ มีแนวโน้มลดลง เช่นที่ โรงพยาบาลราชวิถีจำนวนผู้ป่วยที่มารักษาลดจากช่วงแรกที่เพิ่มเป็นเท่าตัวลง มาใกล้ระดับปกติ คาดว่าเป็นผลมาจากประชาชนเริ่มมีความเข้าใจโรคนี้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการแถลงจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิต กระทรวงสาธารณสุขจะรวบรวมตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยจากทั่วประเทศ และแถลงสัปดาห์ละครั้ง ตรงไปตรงมาตามข้อเท็จจริง

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/20832

รณรงค์ให้ประชาชนไทยใช้หน้ากากผ้าอนามัย เพื่อป้องกันโรคไข้หวัด 2009

รมช.สธ.รณรงค์ให้ประชาชนไทยใช้หน้ากากผ้า ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ประสานร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ช่วยกระจายสินค้าซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (20 ก.ค.) ว่า นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะ เดินทางไปแจกหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ เอกสารแผ่นพับคำแนะนำในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ที่ตลาดปากท่อ อ.ปากท่อ และที่วัดเพลง อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนใช้หน้ากากอนามัยและล้างมือเพื่อป้องกันโรคไข้หวัด ใหญ่สายพันธุ์ ใหม่

นายมานิต กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีประเทศใดในโลกที่ควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ได้สำเร็จ การแพร่กระจายของเชื้อโรคกระจายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งแนวโน้มของประเทศไทยก็เช่นกัน ซึ่งในที่สุดจะมีผู้ป่วยทุกจังหวัด มาตรการรับมือที่สำคัญขณะนี้คือ การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ต้องได้มาตรฐาน รวดเร็วและเพียงพอ และการลดการแพร่กระจายเชื้อ โดยใช้เครื่องมือที่ไม่ใช่ยาป้องกัน ได้แก่ หน้ากากอนามัยและการล้างมือ กำจัดเชื้อที่ติดมากับมือหลังจากสัมผัสสิ่งของต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ทำได้ 2 วิธีคือ การล้างสบู่ และล้างด้วยเจลแอลกอฮอล์

นายมานิต กล่าวต่อว่า ขณะนี้หน้ากากอนามัยชนิดกระดาษที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง อาจมีปัญหาไม่เพียงพอ เพราะความต้องการมีมาก กระทรวงสาธารณสุขได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประสานแม่บ้านโอท็อป จัดทำหน้ากากอนามัยชนิดผ้าตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ออกจำหน่ายในแต่ละจังหวัด เพราะใช้แล้วซักทำความสะอาดได้ และใช้ได้หลายครั้งจนกว่าจะชำรุด ขณะนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากจากผู้บริหารร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ซึ่งมีกว่า 5,000 สาขาทั่วประเทศ ยินดีรับและเป็นจุดวางจำหน่ายหน้ากากอนามัยจากโอท็อป ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถซื้อหาได้ตลอด 24 ชั่วโมง

นายมานิต กล่าวถึงการดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ที่อาการไม่รุนแรง ว่า เมื่อ ป่วยแล้วสามารถพักรักษาอาการอยู่ที่บ้านได้ ซึ่งอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายเองได้ ซึ่งคนกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มใหญ่มีจำนวนประมาณร้อยละ 95 ของผู้ป่วย หากได้รับคำแนะนำการดูแลอย่างดีแล้ว มั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาอาการแทรกซ้อนใดๆ เกิดขึ้น หรือหากมีก็จะได้รับคำแนะนำให้ไปพบแพทย์ได้อย่างทันท่วงที มีนโยบายให้โรงพยาบาลทุกแห่งเปิดสายด่วนไข้หวัดใหญ่ ให้คำปรึกษาประชาชนที่สงสัยว่าตนเองป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ เพื่อแนะนำอาการที่ต้องไปพบแพทย์ทันที หรือดูแลตนเองที่บ้าน รวมทั้งโทรศัพท์ติดตามอาการผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ที่ได้รับการตรวจหรือจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลแล้ว รวมทั้งการกินยาต้านไวรัสให้ครบตามแพทย์สั่ง โดยให้ติดตามอาการทุกวันเพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติม จนกว่าอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้น ซึ่งจะป้องกันอาการแทรกซ้อนรุนแรง และป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้อีกทางหนึ่ง

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/20776

เตือนสถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัด 2009 จะมีที่ไหนบ้าง เตรียมระวัง!

ในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กำลังระบาด จนมีผู้ติดเชื้อหลายรายในขณะนี้ การระวังและป้องกันตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ต้องเดินทางไปเรียน บางครั้งต้องเกี่ยวข้องกับสถานที่ ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ ส่วนจะมีที่ใดบ้าง ‘Edutainment Zone’ มีมาฝาก

เริ่มจาก รถโดยสาร ที่ต้องพบกับความแออัด รวมทั้งราวจับบนรถเมล์ ซึ่งเป็นส่วนของการแพร่เชื้อทางมือที่สำคัญ เพราะเมื่อเกิดการไอ-จาม หลายคนอาจเผลอนำมือที่ป้องปากไปจับตามราวหรือขอบเก้าอี้ ซึ่งเชื้อโรคจะติดอยู่ตรงจุดนั้นได้นานหลายชั่วโมง ดังนั้น เมื่อถึงบ้านควรล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด

โรงเรียน สถานที่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ป้องกันได้โดยเริ่มจากตัวเอง หากจะไอ-จามควรหาผ้ามาปิดปาก ป้องกันเชื้อโรคฟุ้งกระจายสู่ผู้อื่น รวมทั้งสังเกตอาการ เมื่อรู้สึกเป็นไข้ไม่สบาย ควรแจ้งอาจารย์ และไปพบแพทย์ นอกจากนี้ ในส่วนของลูกบิดประตูห้องน้ำ ก็ถือเป็นจุดเสี่ยงของแหล่งเชื้อโรคเช่นกัน ดังนั้น ระหว่างวันที่ต้องเข้าห้องน้ำ จึงควรล้างมือให้สะอาด

ร้านอินเตอร์เน็ต/ร้านเกม เนื่องจากแต่ละวันจะมีผู้มาใช้บริการค่อนข้างมาก โดยอุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสอย่าง เมาท์ คีย์บอร์ด เสี่ยงที่จะเป็นแหล่งแพร่เชื้อได้ ดังนั้น ใครที่เป็นหวัดและจำเป็นต้องเข้าไปใช้ ควรหาอุปกรณ์ป้องกัน แต่ทางที่ดีควรงดใช้บริการในช่วงนั้น สำหรับทางร้านเองเพื่อสุขอนามัย และถือเป็นการเฝ้าระวัง ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ลูกค้าต้องสัมผัสทุกวัน

ห้างสรรพสินค้า
นอกจากจะเป็นสถานที่มีผู้คนพลุกพล่านแล้ว สิ่งใกล้ตัวในห้างอย่างราวบันไดเลื่อน และที่จับรถเข็นในซูเปอร์มาร์เก็ต ก็อาจเป็นจุดเสี่ยงของแหล่งเชื้อโรคได้

โรงภาพยนตร์ สถานที่ติดแอร์ มีพื้นที่จำกัด เมื่อมีการไอ-จาม จึงอาจมีเชื้อโรคกระจายอยู่บริเวณนั้นได้ นอกจากนี้ ปุ่มลิฟต์ที่หลายคนต้องสัมผัส ก็ถือเป็นจุดเสี่ยงของแหล่งเชื้อโรคเช่นกัน

ข้างต้นเป็นเพียงสถานที่ที่อาจมีปัจจัยเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อได้ ดังนั้น น้อง ๆ ควรหมั่นล้างมือให้สะอาด และอาจใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องอยู่ในจุดเสี่ยง เพื่อเป็นการป้องกันทั้งตัวเองและผู้อื่น.

ที่มา: http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=441&contentId=9022