ลิงค์ผู้สนับสนุน

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

หญิงตั้งครรภ์ชาวราชบุรีที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 เสียชีวิตแล้ว

คมชัดลึก : "มานิต" แจ้งหญิงตั้งครรภ์ชาวราชบุรี มารักษาตัวที่ รพ.จุฬา เสียชีวิตแล้ว หมอใหญ่เผยหญิงวัย 16 ปีแท้งลูกที่โคราชไม่ได้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ หญิงตั้งครรภ์ผวาติดหวัดแห่ตรวจสุขภาพ

เมื่อเวลา 19.20 น.วันที่ 31 ก.ค.นายมานิต นพอมรบดี รมช.สธ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากนายจินดา เปียถนอม อายุ 36 ปีสามีผู้ติดเชื้อไข้หวัด 2009 ซึ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์ผ่าคลอดและทารกติดเชื้อจากแม่ ได้เสียชีวิตแล้วที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ โดยนายจินดาได้รับแจ้งการเสียชีวิตจากรพ.จุฬาลงกรณ์ และไม่อนุญาตให้ผ่าศพพิสูจน์อีกครั้งเนื่องจากสงสารภรรยา

ด้านศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ผอ.รพ.จุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า หญิงที่คลอดลูกวัย 26 ปีที่ติดเชื้อไข้หวัด 2009 ซึ่งถูกส่งตัวมาจากรพ.ราชบุรีเข้ามารักษาตัวที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ เสียชีวิตแล้วเมื่อเวลา 16.00 น. ด้วยภาวะปอดถูกทำลาย หลังจากส่งเข้ามารับการรักษาที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ ได้ 1 สัปดาห์ ขณะนี้คณะแพทย์ จุฬาฯ ได้พยายามเจรจากับญาติผู้เสียชีวิต เพื่อขอผ่าพิสูจน์ศึกษารอยโรคเป็นวิทยาทานให้แก่วงการแพทย์ไทย

นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีหญิงอายุ 16 ปีตั้งครรภ์ได้ 6 เดือนและแท้งหลังมีไข้ ที่กำลังรักษาตัวในโรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา ว่า ได้รับรายงานผลการตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธีพีซีอาร์ 2 ครั้ง พบไม่ได้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 หญิงรายดังกล่าว มาด้วยอาการไข้ ไอ หอบ ส่งตัวมาจากโรงพยาบาลด่านขุนทด จ.นครราชสีมาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2552 ถึงโรงพยาบาลมหาราช แพทย์ตรวจพบปอดอักเสบทั้ง 2 ข้าง ใส่เครื่องช่วยหายใจ รับตัวไว้รักษาในห้องไอซียู เริ่มให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์และยาปฏิชีวนะในวันเดียวกัน ต่อมาวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 เวลาประมาณ 06.00 น. ได้แท้งลูก อาการล่าสุดวันนี้ยังมีไข้ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นปอดอักเสบ ซึ่งมีสาเหตุได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส

นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวต่อว่า ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้สถานพยาบาลทั่วประเทศปรับยุทธศาสตร์ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ โดยให้ อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย ออกเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน พร้อมให้การดูแลและคำแนะนำการปฏิบัติตัว โดยขอให้หลีกเลี่ยงการไปเยี่ยมผู้ป่วยอื่น ๆ ในโรงพยาบาล หากมีผู้ป่วยไข้หวัดอยู่ ในบ้าน ขอให้ใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย และหากมีอาการป่วยอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้คือ มีไข้ ไอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยร่างกาย ท้องเสีย อาเจียน ขอให้รีบไปโรงพยาบาลทันที ไม่ต้องรอดูอาการหรือซื้อยากินเอง เพราะการพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาและรับยาต้านไวรัสเร็ว จะเป็นผลดีต่อทั้งแม่และเด็ก โดยผลการศึกษาทั่วโลก ยืนยันตรงกันว่ายาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์มีความปลอดภัย ไม่มีผลเสียต่อเด็กในครรภ์ และทำให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปได้จนถึงคลอด

หญิงตั้งครรภ์ผวาติดหวัดแห่ตรวจสุขภาพ

ที่ โรงพยาบาลค่ายสุรนารี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นคราชสีมา พบว่า หญิงตั้งครรภ์ต่างพากันมาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงวิตกกังวลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงตั้งใจที่จะเข้ามาตรวจเพื่อความสบายใจ

นางวิภารัตน์ สุวรรณไตร อายุ 26 ปี ประชาชนในเขตเทศบาลนครนคราชสีมา หนึ่งในหญิงตั้งครรภ์ที่เดินทางมาตรวจสุขภาพกับโรงพยาบาลค่ายสุรนารี กล่าวว่า ข่าวหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ในจังหวัดนคราชสีมา ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 และมีอาการหนักจนถึงขั้นที่ต้องแท้งลูก ทำให้หวาดกลัว จึงต้องเดินทางมาตรวจสุขภาพ เพราะกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์

ขณะเดียวกันความตื่นตะหนกเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ยังทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในส่วนของบุคคลกลุ่มเสี่ยง เด็ก คนชรา ผู้ที่มีโรคประจำตัว จนถึงหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งล่าสุดในวันนี้ ( 31 ก.ค.52 ) โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา ซึ่งเป็นโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดนครราชสีมา เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 นายทอง วิริยะจารุ ผู้อำนวยการโรงเรียน ต้องประกาศหยุดการเรียนการสอนเป็นเวลา 1 อาทิตย์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค.5ไปจนถึงวันที่ 6 ส.ค. เพื่อทำความสะอาดตัวอาคารและสถานที่ต่างๆทั่วบริเวณโรงเรียน

หลังจากที่พบว่ามีนักเรียนมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด และต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆทั่วเขตเทศบาลนครนคราชสีมา จำนวนเกือบ 20 ราย ซึ่งล่าสุดทางผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยังนายทอง วิริยะจารุ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลนครนครราชสีมา และได้รับคำตอบว่าการปิดเรียนครั้งนี้เป็นการป้องกันการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในโรงเรียน ซึ่งเป็นศูนย์รวมเด็กเล็กที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย และยอมรับว่ามีนักเรียนของโรงเรียนมีอาการป่วยเป็นไข้หวัดกว่า 10 ราย และขณะนี้นักเรียนกลุ่มดังกล่าวได้กระจายไปรักษาตัวอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วเขตเทศบาลนครนคราชสีมา แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการรายงานว่ามีเด็กนักเรียนของโรงเรียนป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แต่อย่างใด

โวยรพ.ปิดข้อมูลลูกตายสงสัยติดหวัด

ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า มีผู้ป่วยต้องสงสัยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เข้ารับการรักษาตัวที่ห้องแยกโรงพยาบาลตรัง เมื่อวันที่ 30 ก.ค.ได้เสียชีวิตลงแล้ว และทางญาติได้นำศพกลับมาจัดการตามประเพณีที่บ้านเลขที่ 206/1 ถ.พาดรถไฟสายตรัง-กันตัง ซ.6 เขตเทศบาลนครตรัง หลังรับแจ้งจึงรีบรุดไปตรวจสอบ เมื่อไปถึงก็พบว่า ทางญาติของผู้เสียชีวิตได้นำศพของผู้เสียชีวิตซึ่งมีรูปร่างอ้วนน้ำหนักมาก ถึง 135 กก.มาอาบน้ำศพจัดการตามหลักประเพณีของศาสนาอิสลาม โดยมีเพียงญาติพี่น้องที่ทราบข่าวต่างเดินทางมาร่วม ประมาณ 20 คน ท่ามกลางความคลางแคลงใจสงสัยของบรรดาญาติพี่น้องและชาวบ้านในละแวกดังกล่าว ถึงสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ตาย

ทั้งนี้จากการสอบถาม นายสหัส เวชกุล บิดาผู้เสียชีวิต เปิดเผยว่า ผู้เสียชีวิต คือ น.ส.อริยา เวชกุล อายุ 25 ปี ซึ่งเป็นลูกสาวของตนเอง โดยก่อนหน้านี้เมื่อเย็นวันที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา ผู้ตายได้ขับขี่ รถจยย.จนเกิดอุบัติเหตุล้มจนได้รับบาดเจ็บ และเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชน โดยแพทย์ได้ทำการตรวจรักษาแล้วพบว่ามีอาการบาดเจ็บไม่มาก แต่ขณะเดียวกันก็ตรวจพบว่า ลูกสาวตนมีอาการไอและเจ็บคอ จึงได้ให้ยาแก้ไอกลับมารับประทานที่บ้าน พร้อมกับแนะนำให้ไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลตรัง

ต่อมาตนก็ได้นำลูกสาวไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลตรัง โดยแพทย์ได้ทำการตรวจเบื้องต้นแล้ว ก็บอกว่าไม่ได้เป็นอะไร และอนุญาตให้กลับบ้าน แต่เมื่อพอกลับมาถึงบ้านลูกสาวก็มีอาการไอเป็นเลือดและมีเสลด รุ่งเช้าจึงพาลุกสาวกลับไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใหม่อีกครั้ง ซึ่งแพทย์ได้ตรวจอาการแล้วบอกว่า เป็นอาการของเส้นเลือดฝอยในคอแตก ก็ได้ให้ยามารับประทาน และอนุญาตให้กลับบ้านได้

กระทั่งลูกสาวมีอาการไอ และหอบ ทางตนกับภรรยาก็ไม่กล้าพากลับไปหาแพทย์ที่ รพ.อีกรอบ เพราะกลัวจะถูกดุ จึงได้ไปหาซื้อยาแก้หอบมาฉีดพ่นให้ลุกสาวแทน แต่อาการกลับทรุดลงอย่างหนักลูกสาวมีอาการไอมากเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ทางตนจึงตัดสินใจนำลูกสาวส่ง รพ.เมื่อไปถึงแพทย์ก็ได้ให้นอนพักดูอาการที่ห้องรวม และเห็นมีอาการไอมาก ก็แยกห้องพาเข้ารักษาตัวที่ห้องแยก ซึ่งอยู่ชั้น 4 ของตึกอุบัติเหตุ

หลังจากนั้นอาการก็ยังไม่ดีขึ้น แพทย์เลยตัดสินใจพาเข้าห้องไอซียู และทำการรักษาโดยไม่ได้ให้ญาติมีส่วนร่วมตัดสินใจในการรักษา อีกทั้งเมื่อทางญาติขอดูฟิลม์เอ๊กซเรย์ก็ไม่ให้ดู กระทั่งต่อมาลูกสาวตนหยุดหายใจ ทางทีมแพทย์ก็ได้ออกมาบอกว่า ไม่สามารถปั๊มหัวใจช่วยชีวิตลูกสาวตนไว้ได้ หลังจากนั้นก็อนุญาตให้ญาติที่มาเยี่ยมเข้าไปดูลูกสาวได้ แต่ให้ทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัยด้วย

บิดาของ น.ส.อริยา กล่าวว่า หลังจากลูกสาวตนเสียชีวิตแล้ว ดูเหมือนว่าทางแพทย์พยายามจะปกปิดข้อมูล โดยมี นพ.คนหนึ่งได้บอกกับตนว่า ผลการตรวจของลูกสาวตนไม่ได้เสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ แต่เป็นเพราะอาการป่วยจากโรคเกล็ดเลือดต่ำที่ผู้ตายเข้าออกรักษาตัวที่ รพ.ตรังมานาน จึงทำให้ขณะนี้ทั้งตน ญาติและเพื่อนบ้าน มีความรู้สึกคลางแคลงใจ และเชื่อว่าทางทีมแพทย์ต้องปกปิดข้อมูลที่แท้จริง ดังนั้นจึงอยากเรียกร้องให้ทางทีมแพทย์ รพ.ตรัง และผู้เกี่ยวข้องออกมาชี้แจงถึงสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริงของลูกสาว เพราะถ้าหากลูกสาวป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ จริง ทางครอบครัวและเพื่อนบ้านจะได้สามารถหาทางระวังป้องกันได้อย่างทันท่วงที สำหรับลูกสาวนั้นที่ผ่านมา ป่วยเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำต้องเข้าออก รพ.ตรัง เป็นประจำ แต่ไม่มีโรคประจำ เช่น เบาหวานหรือหัวใจแต่อย่างใด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้เพื่อนบ้านที่อยู่ในละแวกเดียวกับครอบครัวของ น.ส.อริยา ก็ได้สวมใส่หน้ากากอนามัยป้องกันตัวเองแล้ว เพราะเกรงการระบาด และต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงสาเหตุการตายของ น.ส.อริยาอย่างกว้างขวาง

ด้านนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ปชป.ให้สัมภาษณ์ที่บ้านพัก จ.ตรัง กล่าวว่า ในส่วนของ จ.ตรัง ตนยังไม่ทราบข้อมูลว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 แต่ที่ผ่านมาก็ได้มีการพูดคุยถึงนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่หน่วยงานที่เกี่ยวดำเนินการอยู่ดีอยู่แล้ว แต่ขณะเดียวกำชับเรื่องการให้ความรู้กับประชาชนอย่างทั่วถึง เพราะไม่มีทางเป็นไปได้ว่าหมอจะไปตรวจคนทั้ง 64 ล้านคนได้หมด

เพราะฉะนั้นภูมิคุ้มกันและยาที่ดีที่สุด ก็คือ การให้ความรู้ในการป้องกันตัว เพราะฉะนั้นแนวทางที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินตามนโยบายของกระทรวงทำถูก ต้องดีอยู่แล้ว เพียงแต่ยังมีประชาชนอีกส่วนที่ไม่มีเวลาติดตามข้อมูลข่าวสารทางสื่อได้ตลอด ดังนั้นตนได้ฝากไปถึง รมต.สาธารณสุขอย่าเบื่อที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทุกวัน จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ส่วนใน จ.ตรัง ที่ผ่านมายังไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ได้กำชับไปยัง นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ผวจ.ตรัง ถึงมาตรการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยในช่วงที่มีการระบาดให้รีบเร่งทำความสะอาดสถานที่ต่างๆ อย่ารอให้มีผู้เสียชีวิตก่อนถึงจะทำความสะอาด เป็นการป้องกันการระบาดได้อีกทางหนึ่ง ประกอบกับในช่วงระหว่างวันที่ 9-19 ก.ย.จ.ตรัง จะเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 38 ตรังเกมส์ จะต้องสร้างความมั่นใจให้ทุกฝ่าย

แต่อย่างไรก็ตามยังฝากถึงประชาชนอย่าตื่นตระหนกตกใจกับข่าวโรคไข้หวัดใหญ่ มากนัก เพราะไม่ได้เป็นโรคที่ตายในทันที แต่ขณะเดียวก็อย่าประมาท และเมื่อมีวิธีป้องกันแล้ว พยายามเอาใจใส่ดูตัวเองให้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง ที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันไม่ดี ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตด้วยโรคแทรกซ้อน

ส่วนกรณีของ น.ส.อริยา ที่ทางญาติสงสัยว่าโรงพยาบาลจะปกปิดสาเหตุการเสียชีวิต นั้น ตนเชื่อว่า ทางโรงพยาบาลคงไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะปกปิดข้อมูล เพราะถ้าปิดข้อมูลจริงทางโรงพยาบาลก็จะมีปัญหาในภายหลังเอง ดังนั้นทางญาติพี่น้องควรจะให้เวลากับทางแพทย์ได้ตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิต ให้นัดอีกครั้งหนึ่ง อย่าเพิ่งรีบด่วนสรุป เพราะจะเกิดปัญหาในภายหลัง

เมื่อถามว่าเป็นห่วงการจัดแข่งขันกีฬาแห่งชาติหรือไม่ ว่าจะส่งผลกระทบให้เพิ่มยอดผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น นายชวน กล่าวว่า ตนคิดว่า ในแต่ละจังหวัดคง มีการตรวจสุขภาพร่างกายของนักกีฬามาอย่างดีและมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวด อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นไม่น่าเป็นห่วงมากนัก ในส่วนของการเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคไข้หวัดใหญ่ใน จ.ตรัง นั้น ไม่น่าเป็นห่วง เพราะยังมีเวลารณรงค์ทำความสะอาดสถานที่ราชการได้ทัน ซึ่งจะทำให้การระบาดลดน้อยลง

ส่วนการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งนี้ จะเลื่อนหรือไม่นั้น แล้วแต่ทางจังหวัด ตนคงไปตอบแทนไม่ได้ แต่สำหรับตนคิดว่าคงจะไม่เลื่อน เพราะเชือว่าหากเลื่อนก็อาจกระทบหลายอย่าง อีกทั้งทางจังหวัดมี การเตรียมความพร้อมทุกอย่างไว้แล้ว รวมทั้งมาตรการป้องกันที่เข้มงวด ดังนั้นยังเหลือเวลาไม่มากใกล้จะถึงการแข่งขัน แต่ตนก็มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

ที่มา: http://www.komchadluek.net/detail/20090731/22628/%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%9E.%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7.html

กรมการแพทย์เผยผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 6 แสนคน ด้านสธ.เปิดห้องปฏิบัติการ "ผ่าศพ"

สธ. เปิดห้องปฏิบัติการ “ผ่าศพ” เก็บข้อมูลพยาธิสภาพของผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 เพื่อวิจัยค้นหาแนวทางการรักษาที่ดีที่สุด เผยเป็นโอกาสที่จะได้ศึกษาทางการแพทย์และวางมาตรการรับมือการระบาดระลอก 2 ในเดือนส.ค.นี้

วันนี้ (27 ก.ค.) นพ.เรวัติ วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ขยายวงการระบาดไปทั่วประเทศ ในขณะนี้ คาดว่าประเทศไทยจะมีผู้ติดเชื้อโรคนี้จริงๆมากกว่า 5- 6 แสนคน กรมการแพทย์ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการให้การรักษาผู้ป่วย เพราะมีสถานพยาบาลระดับตติยภูมิและศูนย์การแพทย์ในสังกัดหลายแห่ง โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลราชวิถี มีผู้ป่วยมารับการรักษาในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มารักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกวันละ 300 – 400 ราย หรือ ที่สถาบันสุชขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีผู้ป่วยมารับการรักษามากขึ้นจนต้องเปิดคลินิกพิเศษให้บริการจนถึงเที่ยง คืนทุกวันราชการ การที่มีผู้ป่วยมารักษาเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งแม้จะทำให้แพทย์และพยาบาลมีภาระงานเพิ่มขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งในฐานะหน่วยงานที่ต้องวิจัยและพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าใน ทางการแพทย์ การมีขนาดตัวอย่างของผู้ป่วยจำนวนมาก ทำให้สามารถที่จะสุ่มตรวจและเก็บข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแนวทางการ รักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตลงได้

อธิบดี กรมการแพทย์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ได้ให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ รวมทั้ง ขอความร่วมมือโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เก็บข้อมูลประวัติการรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ยืนยันผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้วทุกรายอย่างละเอียด เพื่อจะนำมาเป็นข้อมูลในการวิจัยทางคลินิก ถึงพยาธิสภาพของโรคที่เกิดขึ้นกับระบบต่างๆของร่างกาย เพราะที่ผ่านมา ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิดเอ เอช 1/เอ็น 1 แม้จะมีอาการทั่วไปเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในบางราย โดยเฉพาะภาวะความรุนแรงที่เกิดกับปอด เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ หรือแม้แต่ในกลุ่มที่อาจจะไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง คือ ไม่ใช่คนอ้วน ไม่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ แต่กลับมีอาการรุนแรง แพทย์อาจจะต้องพยายามค้นหาสาเหตุ ปัจจัยเหล่านี้ แม้จะเป็นเพียงผู้ป่วยส่วนน้อยมากก็ตาม

นพ.เรวัติ กล่าวด้วยว่า อีกส่วนหนึ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ การขันสูตรศพผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยสถาบันพยาธิวิทยา มีห้องปฏิบัติการผ่าชันสูตรศพที่สามารถชันสูตรศพโรคติดเชื้อได้เพียง แห่งเดียวในประเทศไทยขณะนี้ โดยได้ทำการชันสูตรศพอย่างละเอียดไปแล้ว 2 ราย เท่าที่ญาติผู้เสียชีวิตยินยอม ทำให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของไวรัสที่ส่งผลต่อการทำงานของ อวัยวะในระบบต่างๆ โดยเฉพาะความรุนแรงต่อระบบการหายใจทั้งระบบ ที่จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการแพทย์และการรักษาโรคนี้ต่อไป

" ห้องปฏิบัติการชันสูตรศพของสถาบันพยาธิวิทยาเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้ มาตรฐาน สามารถแบ่งความดันลบหรือที่เรียกว่า Negative Pressure ได้ถึง 3 ระดับ มีมาตรการป้องกันตั้งแต่การลำเลียงศพเข้า –ออก ที่มีการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคอย่างเข้มข้น โดยออกแบบระบบปรับอากาศและระบายอากาศ แบบ 100% เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้ปฏิบัติงาน มีการเติมอากาศ และ กรองอากาศ รวมถึงการฆ่าเชื้อด้วยแสงยูวี เชื่อมั่นได้ว่ามีความปลอดภัย 100 % " อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวและว่า นับจากนี้ หากมีการขอร้องจากแพทย์หรือญาติที่อนุญาตให้ทำการผ่าศพเพื่อพิสูจน์เป็น วิทยาทานทางการแพทย์ กรมการแพทย์ก็จะดำเนินการทันที เพราะถ้ามีการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยที่ดีพอ เชื่อมั่นว่า แม้จะมีการคาดการณ์ การระบาดของโรคระลอกสองในเดือนส.ค.-ต.ค.นี้ แพทย์จะมีแนวทางในการรักษาได้อย่างทันท่วงที นอกจากตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ยังจะช่วยลดความรุนแรงของโรคและอัตราการเสียชีวิตลงได้มาก

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/22355

"อภิสิทธิ์" ยันไม่พบไข้หวัดใหญ่ 2009 ดื้อยาหรือกลายพันธุ์

สั่งอสม.จับตาเข้มข้น1 คนต่อ 10 ครอบครัวต้องดูแลให้ได้ทั่วถึง ใครป่วยมีอาการน่าสงสัยต้องให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หากป่วยเล็กน้อยต้องให้อยู่กับบ้านขณะเดียวกันยังไม่ยืนยันหญิงโคราชแท้ง เพราะไข้หวัด 09....

เมื่อเวลา 13.35 น.ที่ผ่านมา(30 ก.ค.)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงว่า ที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับมาตรการแก้ปัญหาไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ใน 2 ส่วน คือ

1.เรื่องระบบการจ่ายยาซึ่งในชั้นนี้ทางคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังยืนยันว่า เงื่อนไข 8 ข้อในการที่จะให้ยาออกไปตามคลินิคยังจำเป็นต้องคงไว้ แต่ต้องการให้ประเมินอยู่ตลอดเวลา เพราะเท่าที่ทราบกรณีที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เข้าถึงยาช้า แต่ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังเป็นห่วงเรื่องการดื้อยาหรือความไม่รัดกุมในการจ่ายยา

2.เมื่อมีแนวโน้มที่จะระบาดไปในชนบทมากขึ้น ระบบการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)จะต้องสามารถหยุดยั้ง สกัดกั้นการระบาดเข้าไปในหมู่บ้านให้ได้ โดยต้องเฝ้าระวังอย่างละเอียดเพราะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ภารกิจ 1 คนต่อ 10 ครอบครัวต้องดูแลให้ได้ทั่วถึง ถ้าใครป่วยมีอาการน่าสงสัยต้องให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หากป่วยเล็กน้อยต้องให้อยู่กับบ้าน และต้องช่วยติดตามว่าคนๆนั้นมีโอกาสที่จะไปติดต่อแพร่เชื้อที่ไหนอย่างไร

สำหรับกรณีหญิงมีครรภ์ที่ติดเชื้อที่จ.นครราชสีมา แท้งเพราะไขหวัด 2009 นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ได้มีการยืนยันข้อมูลดังกล่าวมา สำหรับมาตรการขณะนี้เป็นมาตรการที่ทั่วโลกยอมรับว่าใช้กันตามปกติ เพียงแต่เราต้องไปเร่งดูการเข้าถึงยาในส่วนภูมิภาคกับการป้องกันระดับชนบทจะ ทำอย่างไร แต่ในพื้นที่เมืองเท่าที่ติดตามขณะนี้สถานการณ์ทรงตัวไม่ได้เป็นขาขึ้นแล้ว แต่จะไปบอกว่าเราสามารถสกัดหรือไม่สกัดแต่การติดเชื้อยังมีวงจรอยู่ เรายังต้องติดตามอยู่เพราะไม่ได้คิดว่าเป็นไปตามฤดูกาล เท่าที่ติดตามจากต่างประเทศไม่ได้มีผลกระทบจากฤดูร้อนในต่าง ประเทศเลย ที่ต้องติดตามตลอดคือการดื้อยาและการกลายพันธุ์เท่านั้น ซึ่งขณะนี้ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย.

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/23117

สาว15ปี ท้อง 6 เดือนแท้งโคม่านอนโรงพยาบาล เหตุจากติดไข้หวัด2009

รองผอ. รพ.มหาราชนครราชสีมา เผยพบหญิงแท้งรายแรกในโคราชที่เกิดจากเป็นไข้หวัด09 อายุ 15 ปี ตั้งครรภ์ 6 เดือนถูกส่งตัวมาจาก รพ.ด่านขุนทด อาการรุนแรง ล่าสุดยังโคม่าต้องใส่เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา...

เมื่อเวลา 14.30 น.วันนี้ ( 30 ก.ค.) นพ.วีรศักดิ์ เกียรติผดุงกุล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กล่าวถึงสถานการณ์ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า ล่าสุด มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เข้ามารักษาอยู่ในห้องไอซียู ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และมีอาการน่าเป็นห่วงจำนวน 3 ราย โดย 1 ใน 3 รายเป็นหญิงอายุ 15 ปี ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา ที่สำคัญเธอตั้งครรภ์ 6 เดือนถูกส่งตัวมาจาก โรงพยาบาลด่านขุนทด อ.ด่านขุดทด เมื่อวันที่ 20 ก.ค. แพทย์ได้ทำการรักษาผู้ป่วยมีอาการทรงตัว แต่ไข้ยังไม่ลด กระทั่งเมื่อวันที่ 28 ก.ค. มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด และแท้งลูก เป็นผู้หญิงท้องรายแรกของจ.นครราชสีมา ที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และเกิดการแท้งลูกดังกล่าว

นพ. วีรศักดิ์ กล่าวต่อว่า การแท้งลูกดังกล่าวน่าจะมีสาเหตุมาจากการป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่มีอาการรุนแรงขึ้น คือ ผู้ป่วยมีไข้สูง ไอ เหนื่อย และมีอาการหอบรุนแรง ประกอบกับทารกในครรภ์ไม่สมบูรณ์ ทำให้แท้งลูก แพทย์ได้ช่วยรักษาพยาบาลอย่างเต็มที่และดูแลอย่างใกล้ชิด ขณะนี้คนไข้ยังคงมีอาการน่าเป็นห่วง นอนพักรักษาตัวอยู่ที่ห้องไอซียู โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดยใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา สำหรับคนไข้รายนี้ไม่มีโรคประจำตัวแต่อย่างใด

รองผู้อำนวยการโรง พยาบาลมหาราชนครราชสีมากล่าวด้วยว่า จนถึงขณะนี้ มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่นอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จำนวน 16 คน พักอยู่ที่ตึกหลวงพ่อคูณ ชั้น 3 และ 4 จำนวน 13 คน และเป็นผู้ป่วยหนักพักอยู่ที่ห้องไอซียูอีกจำนวน 3 ราย จ.นครราชสีมามีผู้ป่วยเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แล้วจำนวน 2 ราย

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/23113

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ระบาดไม่หยุด ล่าสุด "ไข้หวัด 2009" คร่าชีวิต "หมอเชียงใหม่" แล้วอีกราย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (29 ก.ค.) นพ.วัฒนา กาญจนกามล นายแพทย์สาธารณสุขเชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์กรณีที่มีข่าวว่า มี อาจารย์แพทย์ที่จ.เชียงใหม่ ท่านหนึ่งเสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า เป็นความจริง โดย นพ.ท่านนี้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ส่วนรายละเอียดนั้นคงต้องรอให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ให้รายละเอียด อย่างไรก็ตามศพของแพทย์ท่านนี้ได้มีการสวดอภิธรรมที่วัดพระสิงห์วรวิหาร โดยทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่จะเป็นเจ้าภาพในวันที่ 30 ก.ค.


ทั้งนี้จากการสอบสวนโรคทราบว่า แพทย์ท่านนี้มีโรคประจำตัวอยู่แล้วเช่น โรคหัวใจ โรคไต เมื่อติดเชื้อทำให้ลามไปสู่ปอด ก่อนเสียชีวิตด้วยวัย 57 ปี ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ หรือ โรงพยาบาลสวนดอก ส่วนการติดเชื้อนั้นคาดว่าติดจากโรงพยาบาล.

ที่มา: http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=38&contentID=11167

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009แก่เด็กนักเรียน หลังพบนักเรียนสัมผัสเชื้อหวัด

สาธารณสุขสะเดา จ.สงขลา ตรวจคัดกรองและให้ความรู้นักเรียนหน้าเสาธง หลังพบนักเรียนสัมผัสเชื้อหวัดใหม่ 2 ราย ขณะพบผู้ติดเชื้อในอำเภอสะเดาแล้ว 17 ราย ...

วันนี้ (30 ก.ค.) เวลา 08.30 น.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยนายธนพันธ์ จรสุวรรณ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นางอุไร ใบตาเย็น นักวิชาการสาธารณสุข พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกรณรงค์การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนหน้าเสาธง เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ณ โรงเรียนสะเดาขรรค์ชัย ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของอำเภอสะเดาและมีนักเรียนจำนวน มากกว่า 2,000 คน หลังพบมีนักเรียนสัมผัสเชื้อ แล้วจำนวน 2 คน เป็นนักเรียน ชั้น ม.4 และ ม.5 ได้แยกตัวและส่งตัวไปรักษาและเฝ้าดูอาการแล้วที่ รพ.ในอำเภอหาดใหญ่แล้ว ทำให้บรรดาเด็กนักเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีโอกาสที่ที่อาจจะติดเชื้อและก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ได้ง่าย ถ้าไม่ได้รับการแนะนำให้ความรู้ในการป้องกันอย่างถูกวิธี ส่วนนักเรียนที่มีอาการน่าสงสัย และเข้าข่ายในกลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อนั้น ทางโรงเรียนได้ให้หยุดเรียนเพื่อรักษาตัวแล้ว โดยในขณะนี้พบผู้ติดเชื้อในอำเภอสะเดาแล้วทั้งสิ้นจำนวน 17 ราย

เบื้อง ต้นเจ้าหน้าที่ได้สาธิตการล้างมือใน 6 ขั้นตอนอย่างถูกวิธี และการสาธิตการสวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง ให้กินอาหารของร้อนใช้ช้อนกลาง ให้ความรู้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพของเด็กนักเรียน เน้นการล้างมือและการใช้หน้ากากอนามัย แจกหน้ากากอนามัยเด็กนักเรียนให้สวมใส่

หลังจากนั้นได้เข้าไปให้ความ รู้กับบรรดาพ่อค้า และแม่ค้าที่ขายอาหารให้กับเด็กนักเรียนภายในโรงอาหารของโรงเรียน ให้สวมหมวก และสวมใส่หน้ากากอานามัย ล้างมืออย่างถูกวิธี และเรื่องการรักษาความสะอาด โต๊ะ เก้าอี้ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ล้างภาชนะต่างๆ เช่น แก้ว ถ้วย จาน ชาม ช้อน ให้สะอาดทั้งหมด เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ 2009

โดย ทางสำนักงานสาธารณสุขสะเดา จะออกรณรงค์ไปตามหน่วยงาน และโรงงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะตามสถานประกอบการ สถานบันเทิง ในแหล่งท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่ของอำเภอสะเดาให้ครอบคลุมทั้งหมด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/23018

แห่กินสมุนไพรป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยเฉพาะใบพาโหม แถมฟ้าทะลายโจรราคาพุ่ง

เผยฟ้าทะลายโจร ในกทม.ขาดตลาดอย่างหนัก เมืองคอนขาย ก.ก.ละ 120-150 บาท ปัจจุบันขายก.ก.ละ 1,000 บาทขึ้นไป ทำให้หันมาใช้ใบ"ตูดหมูตูดหมา" หรือใบกระพังโหม ที่ คนปักษ์ใต้มักเรียกว่า"ใบพาโหม"

ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (29 ก.ค.) ว่า ภายหลังประชาชนตื่นตัวในการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แห่เสาะหาสมุนไพรไทยโดยเฉพาะ "ฟ้าทะลายโจร”" มาบริโภคกันอย่างกว้างขวาง แม้ฟ้าทะลายโจรจะมีรสขมเป็นอย่างมากก็ตาม เมื่อกระทรวงสาธารณสุขออกมาระบุว่าการป้องกันการติดเชื้อหวัดมรณะที่ดี ที่สุดคือการทำให้สร้างกายมีสุขภาพแข็งแรง บริโภคอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะสมุนไพรไทยมีมีสรรพคุณแก้ไข้หวัด ลดไข้ แก้ไอ ทำให้ประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชแห่เสาะหาสมุนไพรไทยหลายชนิดมาบริโภคกัน ในครัวเรือน และพกพาติดตัวไปบริโภคนอกบ้านตามสะดวก แม้แต่ตามร้านขายน้ำชา กาแฟริมถนนในตอนกลางคืนหลายร้านก็นำเอาสมุนไพรไทยมาไว้บริการลูกค้าด้วย

นอกจากฟ้าทะลายโจรแล้วสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเช่นกัน อาทิ พืชกระท่อม ขิง ข่า กระชาย พริกไทยดำ แต่ที่ได้รับความนิยมมากในลำดับต้น ๆ คือ ใบ"ตูดหมูตูดหมา" หรือใบกระพังโหม แต่ในจ.นครศรีธรรมราชและคนปักษ์ใต้มักเรียกว่า"ใบพาโหม" ปกติคนปักษ์มักจะใช้ใบพาโหมมาทำเป็นผักเหนาะ หรือหั่นเป็นฝอยผสมกับส่วนผสมของข้าวยำเป็นไม้เถาเนื้ออ่อนเลื้อยเกี่ยวพัน กับใบอื่น เถาว์จะอยู่รวมกันเป็นพุ่ม พาโหมเถาว์มี 2 ชนิด แต่ละชนิดแตกต่างกันไป ลักษณะใบ ชนิดใบเรียวแหลม ข้อใบจะห่างกัน ใบแตกออกมาเป็นคู่เรียก "ตูดหมู" ชนิดใบกว้างรี ปลายแหลมใบแตกออกมาเป็นคู่ แต่ใบจะบางกว่าชนิดแรก ข้อใบแต่ละคู่อยู่ชนิดกัน เรียก "ตูดหมา" แต่มักจะเรียกรวม ๆ กันว่า "ตูดหมูตูดหมา" ส่วนดอกมีสีม่วงอมขาว มีขนาดเล็ก เป็นพวงออกจากโคนใบ ลักษณะผลเป็นช่อขนาดเท่าเมล็ดพริกไทย ออกจากช่อดอกที่ร่วงโรยไปแล้วยอด ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร คือส่วน ยอดใบอ่อน ผล ดอก และมีรสชาติขมเจือมัน กลิ่นฉุน

นายสุชาติ สุขเกษม แพทย์แผนไทยที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในนาม"หมอชิต" เจ้าของร้านสุชาติสมุนไพร เป็นร้านจำหน่ายยาสมุนไพรที่ใหญ่ที่สุดในตัวเมืองนครศรีธรรมราช มีร้านอยู่ 2 สาขา คือสาขาตลาดแม่สมจิตต์ ถนนยมราช และสาขาตลาดแขก ถนนกะโรม กล่าวว่า ประชาชนหันมาบริโภคสมุนไพรไทยหลายชนิดอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะที่นิยมมากที่สุดคือฟ้าทะลายโจร ทราบว่าในกรุงเทพมหานคร กำลังต้องการและขาดตลาดอย่างหนัก สำหรับที่ร้านของตนทั้ง 2 สาขา เมื่อก่อนขายราคา กิโลกรัมละ 120-150 บาท ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาขายหมดไปนับพันกิโลกรัม รวมทั้งที่บดเป็นผง หรือที่อัดเม็ด บรรจุแคปซูล ก็ขายดีมาก จนสินค้าที่ซื้อเก็บไว้ในร้านหมดไปอย่างรวดเร็ว

"เพิ่งมาทราบว่าร้านอื่น ๆ ขายกัน กิโลกรัมละ 1,000 บาทขึ้นไป เมื่อไปหาซื้อมาไว้ในร้านก็ค่อนข้างหายากและมีราคาสูงขึ้น หลายร้านที่ติดตามสถานการณ์หวัด 2009 ไม่ยอมขายโดยกักตุนไว้ขายในราคาสูง จึงต้องตระเวนออกรับซื้อฟ้าทะลายโจรสด ๆ จากชาวบ้านในชนบทห่างไกล สมุนไพรไทยชนิดอื่น ๆ ก็มีแนวโน้มได้รับความนิยมและขายดีกว่าเดิมหมายเท่าตัว เช่น ใบพาโหม กระชายดำ ขิง ข่า"นายสุชาติ กล่าว

นายสุชาติ กล่าวอีกว่า ใบพาโหม หรือตูดหมูตูดหมา เป็นสมุนไพรไทยสู้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อีกชนิดหนึ่ง กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้มีสรรพคุณ คือใช้เถาว์และใบมาตำคั้นเอาน้ำกิน ช่วยขับลมในท้อง แก้จุกเสียด ทั้งต้นแก้ตานร่วง ใบแก้พิษงู แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด รก ฝนหยอดตา แก้ตาซาง ตาแฉะตามัว

นอกจากฟ้าทะลายโจร ใบพาโหมแล้วยังมีสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งคือ "กำแพง 7 ชั้น" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "หลุมนก" เป็นเถาว์วัลย์ขนาดใหญ่ที่ชอบขึ้นในป่าเขตร้อนชื้น หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ นำมาต้มกับน้ำมีสรพคุณแก้อาการร้อนใน และรักษาอาการป่วยเพศเลือด หรือที่เรียกว่า "ไข้ทับฤดู และฤดูทับไข้"ของสตรี เชื่อว่ามีสรรพคุณสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/22927

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เขตพื้นที่การศึกษาพิจิตรเลิกสั่งปิดโรงเรียนหนีไข้หวัดใหญ่ 2009 ชี้ ไร้ผล รับขณะนี้ 50 นักเรียนใน 27 โรงติดเชื้อ

พิจิตร – เขตพื้นที่การศึกษาพิจิตรเขต 1 ยันไม่ใช้นโยบายปิดโรงเรียน หากพบนักเรียนติดหวัด 2009 ชี้ ไร้ผล แถมเด็กได้รับผลกระทบเรื่องการเรียนการสอนอีก รับขณะนี้มีนักเรียน 27 โรงเรียน รวมกว่า 50 คนติดเชื้อ แต่ใช้วิธีให้เด็กป่วยหยุดเรียนแทน ขณะที่สถานการณ์โดยรวมหวัด 09 เมืองชาละวัน มีผู้ป่วยสะสม 247 ราย อาการหนัก 52 ราย

รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ของ จ.พิจิตร หลังมีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย คือ นายพงษ์ศักดิ์ แพรขาว อายุ 45 ปี เป็นชาว อ.บึงนาราง จ.พิจิตร ซึ่งติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 กันทั้งครอบครัว แต่คนอื่นๆ สามารถกินยาจนอาการดีขึ้น แต่ นายพงษ์ศักดิ์ เป็นโรคอ้วน-เบาหวาน-ความดันโลหิตสูง น้ำหนักตัว 120 กก.จึงทำให้ไปเสียชีวิตภายหลังญาตินำตัวไปรักษาที่ รพ.ในเขต จ.นครสวรรค์ ดังกล่าว ทำให้ นายประจักษ์ วัฒนกูล นพ.สาธารณสุข จ.พิจิตร ต้องเร่งออกรณรงค์ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัย ป้องกันโรคกันมากขึ้น ซึ่งก็ได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ป่วยล่าสุดวันนี้ ยังคงพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก 4 ราย ทำให้มีผู้ป่วยขณะนี้ 108 ราย และมียอดผู้ป่วยสะสม 247ราย ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการหนัก มีมากถึง 52 ราย กระจายอยู่ใน รพ.พิจิตร และ รพ.ประจำอำเภอต่างๆ 8 แห่ง

นอกจากนี้ นายสุรเสน ทั่งทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต 1 และนายพงษ์ชัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต 2 ได้รายงานว่า ทั้ง 2 เขตพื้นที่การศึกษามีนักเรียนใน 27 โรงเรียน จำนวนเกือบ 50 คน ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งมีทั้งที่รักษาหายแล้ว และนอนป่วยอยู่ในโรงพยาบาล ทั้งยังพบว่ามีผู้ปกครองก็ติดเชื้อจากบุตรหลานของตนเองอีกด้วย

แต่แม้ว่าตามโรงเรียนต่างๆ จะพบเด็กนักเรียนติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 แต่ก็ไม่มีการปิดโรงเรียนในขณะนี้ เนื่องจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็มีการปิดการเรียนการสอน แต่ปรากฏว่า เด็กที่หยุดเรียน เมื่อกลับมาก็ยังนำเชื้อเข้ามาสู่โรงเรียนอีก ดังนั้น จึงถือว่ามาตรการปิดโรงเรียนไม่ได้ผล จึงต้องเปิดทำการเรียนการสอน เนื่องจากเกรงว่าถ้าปิดบ่อยๆ และระยะเวลายาวนานเด็กอาจจะเรียนไม่ทัน

อย่าง ไรก็ตาม ทางโรงเรียนต่างๆ ได้เพิ่มมาตรการในการคัดกรองตรวจวัดไข้ของนักเรียนกันเกือบจะทุกชั่วโมง ถ้าพบเด็กนักเรียนมีไข้ก็อนุญาตให้ลาป่วย พักการเรียนได้ เป็นมาตรการอีกรูปแบบหนึ่งที่นำมาใช้ในขณะนี้

ที่มา: http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000085877

"หมอทวี" แนะนำควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ธรรมดา แม้จะมีโรคประจำตัวก็ตาม

“หมอทวี” ชี้ คนมีโรคประจำตัวควรฉีดวัคซีน แม้พบหญิงแพร่ตายหลังได้วัคซีนหวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยันวัคซีนปลอดภัยสูง สธ.ส่งทีมสอบสวนโรคหาสาเหตุการตายที่แท้จริง เผย นักวิชาการเห็นต่างให้คลินิกจ่ายยา เพราะคิดเห็นได้อิสระ ชี้คลินิกมีสิทธิ์จ่ายยาโอเซลทามิเวียร์ต้องได้ใบรับรองรักษาโรคหวัด 2009 จาก สธ.เผยรอบสัปดาห์คาดเหยื่อหวัด 2009 ตายเพิ่ม 21 ราย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมยังไม่ถึงหมื่น

รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากกรณีที่มีหญิงสูงอายุชาวแพร่ เสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่นั้น ได้รับรายงานว่า หญิงรายดังกล่าวมีโรคประจำตัวหลายโรค และเป็นอัมพาต รวมถึงโรคชัก ซึ่งการมีโรคประจำตัวไม่ใช่ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน แต่เป็นข้อแนะนำว่าคนมีโรคประจำตัวควรได้รับวัคซีน เพราะถือเป็นกลุ่มเสี่ยง เพราะหากเป็นโรคไข้หวัดใหญ่แล้วจะเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งในแต่ละปีมีการใช้วัคซีนไข้หวัดใหญ่จำนวน 300-400 ล้านโดส ถือเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูงมาก ในสหรัฐอเมริกามีการฉีดอย่างทั่วถึง และนำไปฉีดในสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า สนามบิน แสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยของวัคซีนที่มีสูงมาก และที่ผ่านมา พบโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากวัคซีนน้อยมาก

“สธ.ได้ส่งทีมสอบสวนโรคไปตรวจสอบแล้วว่าสาเหตุการเสียชีวิตที่แน่ชัด คืออะไร เพราะทราบว่า ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหลายโรคมาก แต่ไม่ได้ทิ้งสาเหตุการตายจากวัคซีน เพราะไม่มีอะไร 100% อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวก็ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีโรคประจำตัวยังเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันความ เสี่ยงจากไข้หวัดใหญ่” รศ.นพ.ทวี กล่าว

รศ.นพ.ทวี กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีที่คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการ ยังไม่มีมติให้มีการกระจายยาในระดับคลินิก ไม่ได้หมายความว่า ในเชิงปฏิบัติไม่สามารถทำอะไรได้เลยโดยเฉพาะโครงการที่นำร่องไปแล้ว ก็สามารถดำเนินต่อไปได้ และสามารถมีการเปลี่ยนแปลง หรือขยายโครงการได้ในอนาคต ส่วนความคิดเห็นของนักวิชาการที่มีความแตกต่างกันนั้น ถือว่าเป็นการแสดงความคิดที่อิสระ ซึ่งจะมีการชั่งผลดีผลเสียว่าอะไรมากกว่ากัน อาจไม่ต้องดี 100% แต่มีผลดีมากกว่าผลเสียก็คงต้องดำเนินการ ขณะเดียวกัน ถ้ามีผลเสียมากกว่าก็ต้องเลิกเช่นเดียวกัน ซึ่งคณะอนุกรรมการจะมีการประชุมหารืออีกครั้งในวันที่ 3 ส.ค.นี้

นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า แนวทางหลักในการพิจารณาคลินิกที่จะสามารถจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์ให้กับผู้ ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009ได้นั้น แพทย์ที่ประจำคลินิกจะต้องเข้ารับการอบรมเรื่องแนวทางการรักษาจาก สธ.โดยเฉพาะแพทย์ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานในระบบราชการ ที่สำคัญ ผ่านหลังการอบรม แพทย์จะต้องได้รับใบรับรองจาก สธ.ให้เป็นแพทย์ที่สามารถประเมินอาการ วินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และสั่งจ่ายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ได้เท่านั้น และคลินิกแต่ละแห่งจะต้องมียาสำรองได้ไม่เกิน 50 เม็ด

แหล่งข่าวจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในการแถลงข่าวสรุปสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รอบสัปดาห์ของ สธ.ในวันที่ 29 ก.ค. คาดว่า จะมีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 21 ราย เฉลี่ยวันละ 3 ราย ยอดสะสมรวม 65 ราย ส่วนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มกว่า 2 พันราย ยอดผู้ป่วยสะสมกว่า 8,000 ราย

ที่มา: http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000085468

ผลวิจัยชี้สตรีมีครรภ์เสี่ยงติดไข้หวัด 2009 สูงกว่าคนทั่วไป 4 เท่า

คมชัดลึก :ผลศึกษาในสหรัฐฯ ระบุ สตรีตั้งครรภ์มีความเสี่ยงจากหวัดใหญ่ 2009 มากกว่าผู้ติดเชื้อทั่วไปถึง 4 เท่า

วันนี้ (29ก.ค.) ผลศึกษาที่จัดทำโดยคณะเจ้าหน้าที่ภายใต้การนำของเดนิส จามีสัน แห่งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ หรือ CDC ซึ่งนำออกเผยแพร่เมื่อวันอังคาร และจะตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารการแพทย์"แลนเซ็ท" ฉบับวันที่ 8 สิงหาคมระบุว่า สตรีมีครรภ์ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ติดเชื้อทั่วไปมากถึง 4 เท่า ที่จะป่วยหนักจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

สตรีมีครรภ์ยังมีความเสี่ยงสูงเช่นกันที่จะเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ 2009 หรือแม้แต่จากไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล แต่ก็มีสตรีมีครรภ์ในสหรัฐฯเพียงร้อยละ 15 ที่ทำตามคำแนะนำตั้งแต่ปี 2547 ของ CDC เรื่องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปี ซึ่งสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะกลัวเกิดผลข้างเคียงกับบุตรในครรภ์

การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์โดย CDC แสดงว่าในระหว่างกลางเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อันเป็นเดือนแรกของการระบาด นับจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ประกาศให้โรคนี้เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก มีสตรีมีครรภ์ในสหรัฐฯที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัส เอ (เอชวัน เอ็นวัน) รวม 34 คน ซึ่งในจำนวนนี้ มี 11 คน หรือ 1 ใน 3 ที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ขณะที่อัตราส่วนของคนทั่วไปที่ติดเชื้อจนต้องเข้าโรงพยาบาลอยู่ที่ร้อยละ 8 หรือ คิดเป็น 1 ใน 4 ของอัตราส่วนในสตรีมีครรภ์

ในช่วงเดือนแรกมีสตรีมีครรภ์ในสหรัฐฯเสียชีวิตจากโรคนี้ 1 คน แต่ในเดือนถัดมา เสียชีวิตเพิ่ม 5 คน ทุกคนมีอาการของนิวมอเนีย กับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (acute respiratory distress syndrome ) จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ทั้งหมดไปพบแพทย์ภายใน 1-6 วันหลังมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และได้รับยาต้านไวรัสซึ่งที่ผ่านมาใช้ได้ผลในการต้านไข้หวัดใหญ่ 2009 แต่ทั้งหมดไม่ได้รับยานี้จนอย่างน้อยวันที่ 6 ที่ป่วย

จามีสันกล่าวว่า สาเหตุที่สตรีมีครรภ์มีความเสี่ยงจากโรคสูงมากขึ้น น่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในระบบต่างๆของร่างกายช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งรวมทั้งกลไกและฮอร์โมน, ระบบทางเดินหายใจ,หัวใจกับหลอดเลือดหัวใจ กับระบบภูมิคุ้มกัน ขณะเดียวกัน ขีดความสามารถของปอดยิ่งลดลงเมื่อตัวอ่อนเติบโตมากขึ้น มีพื้นที่ในปอดน้อยลงทำให้สตรีมีครรภ์อ่อนแอมากขึ้น จึงได้รับผลกระทบรุนแรงมากขึ้นจากโรคที่เกิดจากไวรัส รวมทั้ง ไข้หวัดใหญ่

จามีสันกล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 จึงยังไม่อาจแนะนำให้สตรีมีครรภ์ฉีดวัคซีนดังกล่าว แต่ขอเสนอแนะให้สตรีมีครรภ์ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล

ทารก 5 คนจากสตรีมีครรภ์ 6 คนที่เสียชีวิตเกิดจากการผ่าท้องทำคลอด ไม่มีเด็กคนไหนที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ และเกือบทั้งหมดได้ออกจากโรงพยาบาลไปแล้วอย่างมีสุขภาพดี ยกเว้นเพียงคนเดียว ที่ผ่าท้องคลอดก่อนกำหนด 13 สัปดาห์ จึงยังอยู่ในโรงพยาบาลแต่ก็มีอาการดีส่วนสตรีคนที่หกตั้งครรภ์ได้เพียง 11 สัปดาห์ และเด็กในครรภ์เสียชีวิตพร้อมมารดา

ที่มา: http://www.komchadluek.net/detail/20090729/22269/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%9409%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A14%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2.html

ครม.ทุ่มงบ 450 ล้านบาท สกัดไข้หวัด 2009 ลามทั่วประเทศ

ครม.ทุ่มงบอีก 450 ล้านบาท สกัดหวัด 2009 คาดมีคนไทยติดเชื้อ 5 แสนคน สั่งยาชนิดใหม่สำรองเพิ่ม 20,000 ชุด กรณีเกิดการดื้อยา เผยเหตุเสียชีวิตส่วนใหญ่ เพราะได้รับยาช้าเกินไป...

วันนี้(28 ก.ค.) นพ.ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 วงเงิน 450 ล้านบาท จากที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอขอมา 756 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในภารกิจ 4 ด้าน คือ
1.การสนับสนุนการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมสถานการณ์โรคไข้หวัดสายพันธุ์ ใหม่ 2009

2.การจัดซื้อยาซานามิเวียร์ 2 หมื่นชุด วงเงิน 9 ล้านบาท เพื่อเป็นยาต้านไวรัสสำรอง กรณีเกิดการดื้อยาของยาโอเซลทามิเวียร์

3.การใช้งบเพื่อประชาสัมพันธ์โรคหวัด 2009

4.การจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจเพิ่มเติมในผู้ใหญ่ 180 เครื่อง และเด็ก 30 เครื่อง เพื่อใช้ในการรักษาโรคหวัด 2009 วงเงิน 180 ล้านบาท


รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อย่างไรก็ตามในที่ประชุม ครม.ไม่ได้มีการแจ้งจำนวนยอดผู้เสียชีวิต และผู้ติดเชื้อหวัด 2009 ที่กระทรววงสาธารณสุขจะแถลงรายละเอียดในวันที่ 29 ก.ค. แต่มีการประมาณการยอดผู้ติดเชื้อในเมืองไทยน่าจะมีประมาณ 5 แสนคน โดยเป็นจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีการยืนยันแน่นอน 8,000 คน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ว่า ผู้เสียชีวิตในไทยส่วนใหญ่ 80-90 % มีสาเหตุมาจากได้รับยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ช้าเกินไป โดยส่วนใหญ่ได้รับยาต้านเชื้อภายหลังป่วยไปแล้ว 6-7 วัน ดังนั้นเพื่อลดการเสียชีวิต จึงจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสเร็วขึ้น ซึ่งคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์ และกระทรวงสาธารณสุข โรคไข้หวัด 2009 มีแนวทางยินยอมให้มีการกระจายยาไปยังคลินิกต่างๆ13,000 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาเร็วขึ้น ภายใต้เงื่อนไข 8 ข้ออาทิต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น และคลินิกที่จะสั่งจ่ายยาดังกล่าวได้ต้องมีการขึ้นทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุข.

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/22663

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไข้หวัดมรณะคร่าชีวิตคนไทยแล้ว66ราย 1 ใน 3 เท่า ไม่มีโรคประจำตัว

วันนี้(28 ก.ค.) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์ประจำภาควิชาอารุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า การประชุมคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และการ สาธารณสุขระดับชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ที่มี ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่เป็นประธาน เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุมส่วนใหญ่ไม่มีใครเห็นด้วยกับการให้คลินิกจ่ายยาต้านไวรัสเซลทามิ เวียร์ ดังนั้นใครที่ออกมาพูดว่านักวิชาการเห็นด้วยโดยมีข้อแนะนำ 8 ข้อก่อนให้คลินิกจ่ายยาถือว่า เป็นการพูดที่โกหก

นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้นำตัวเลขผู้เสียชีวิตจากสำนักระบาดวิทยามาดู พบว่า จาก 66 รายนั้น มี 1 ใน 3 หรือ ประมาณ 22 ราย ที่ไม่มีโรคประจำตัว ดังนั้นก็เป็นไปตามที่ตนตั้งข้อสันนิษฐานก่อนหน้านี้ว่า คนแข็งแรงก็สามารถป่วยและเสียชีวิตได้ ดังนั้นประเด็นที่ต้องตั้งคำถามคือ
1. ผู้ป่วยได้รับยาช้าจริงหรือไม่
2.ถ้าคนไข้ไม่ได้ยาช้ามาจากเรื่องคุณภาพของยาต้านไวรัสหรือไม่ และ
3. เชื้อไวรัสดื้อยาหรือไม่.

ที่มา: http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=38&contentID=10932

เหยื่อไข้หวัดใหญ่ 2009 ตายแล้วรายแรกของพิจิตร เหตุติดเชื้อจากลูกสาว

พิจิตร – เหยื่อหวัด 09 ตายแล้วเป็นรายแรกของพิจิตร หลังติดเชื้อจากลูกสาวนักเรียนอนุบาลบางมูลนาก ก่อนที่สมาชิกในครอบครัวจะติดเชื้อกันหมด สุดท้ายผู้เป็นพ่อต้องสังเวยเป็นรายแรก

วันนี้ (28 ก.ค.) ที่ จ.พิจิตร นายพงษ์ศักดิ์ แพรขาว อายุ 45 ปี หรือ “เฮียโต” ซึ่งเป็นเจ้าของร้านขายเคมีการเกษตรอยู่ที่ อ.บึงนาราง จ.พิจิตร ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นรายแรกของ จ.พิจิตร หลังจากติดหวัดจากลูกสาวที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนอนุบาลบางมูลนาก จากนั้นทั้งครอบครัวก็ติดกันหมดทุกคน แต่นายพงษ์ศักดิ์ แพรขาว ผู้เป็นพ่อมีอาการลุกลามหนักเมื่อ 7 วันก่อนหน้านี้ จากนั้นญาติจะนำส่ง รพ.โพทะเล แต่หมอตรวจอาการแล้วบอกว่าให้นายพงษ์ศักดิ์ กลับบ้านได้

หลังจากนั้น อาการก็ทรุดหนักลงกว่าเดิมญาติจึงต้องนำตัวส่งต่อไปที่โรงพยาบาล จ.นครสวรรค์ ก็ปรากฏว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ได้ลุกลามกินปอดหายไปทั้งหมด โดยญาติคนไข้ของนายพงษ์ศักดิ์ ที่เหลือก็ยังไม่ได้รับยาต้านไวรัส รวมถึงผู้เสียชีวิตก่อนตายก็ไม่ได้รับยาต้านไวรัส 2009 แต่อย่างใด

ที่มา: http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000085124

ไข้หวัดใหญ่ 2009 คร่าชีวิตหญิงวัย 59 ชาวโคราชเป็นรายที่ 2 ส่วนอีก 3 รายอาการหนักนอนไอซียู

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - หวัดใหญ่ 2009 คร่าชีวิตหญิงวัย 59 ปีชาวพิมายโคราช เป็นรายที่ 2 ของจังหวัดฯ เผยมีโรคประจำตัวเพียบทั้ง เบาหวาน ความดันสูง ไตวายเรื้อรังและอ้วน ด้านรองผอ.รพ.มหาราช ระบุมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่พักรักษาอยู่ที่ รพ.อีก 14 ราย อาการหนักอยู่ห้องไอซียู 3 ราย เตือนผู้มีโรคร้ายประจำตัวเรื้อรังเลี่ยงสถานที่แออัด คนมาก และห้ามเข้าใกล้คนป่วยเป็นไข้หวัดทุกชนิด

วันนี้ (28 ก.ค.) เมื่อเวลา 12.00 น. นพ.วีรศักดิ์ เกียรติผดุงกุล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เปิดเผยถึงผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้เข้ามาตรวจพักรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ว่าล่าสุดขณะนี้ มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เข้ามารักษาอยู่ในโรงพยาบาลได้เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย ซึ่งเป็นรายที่ 2 ของจังหวัดนครราชสีมา โดยผู้ป่วยที่เสียชีวิตเป็นหญิง อายุ 59 ปีชาว อ.พิมาย จ.นครราชสีมา มีโรคประจำตัวคือ โรคเบาหวาน ความดันสูง ไตวายเรื้อรัง และอ้วน ถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลพิมาย อ.พิมาย เข้ารักษาที่ห้องไอซียูโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาอยู่ประมาณ 5 วัน ก่อนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา

สำหรับที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ขณะนี้ยังมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 นอนพักรักษาตัวอยู่จำนวน 14 ราย ในจำนวนนี้มีอาการหนักอยู่ที่ห้องไอซียูจำนวน 3 ราย แพทย์ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และไม่ต้องตื่นตระหนกมากจนเกินไป เพราะโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 สามารถป้องกันและรักษาหายได้ ซึ่งผู้เสียชีวิตของจ.นครราชสีมาทั้ง 2 ราย ล้วนมีโรคเรื้อรังประจำตัวรุมเร้าหลายโรคและร่างกายไม่แข็งแรง
ฉะนั้นประชาชนที่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคร้ายเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันสูง โรคปอด และโรคไตรวมทั้งอ้วน ให้ระมัดระวังป้องกันตัวเองเป็นพิเศษ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ต้องเข้าไปในที่ชุมชนมีคนหนาแน่น อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค เช่น โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ร้านเกม และไม่ควรเข้าใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัดทุกชนิด

“ล่าสุดโรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลในเขตเมืองที่มีแพทย์ประจำ ในจังหวัดนครราชสีมาทุกแห่งได้ปรับกลยุทธการรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ 2009 โดยหากสงสัยป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ให้แพทย์สั่งจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์ให้กับคนไข้ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอผลการ ตรวจยืนยันจากห้องปฏิบัติการ เพราะจะทำให้การรักษาผู้ป่วยไม่ทันท่วงที่หรือช้าเกินไป” นพ.วีรศักดิ์ กล่าว

ที่มา: http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000085213

หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 อาการทรงตัว ส่วนลูกไม่พบเชื้อแล้ว

รม ช.สธ. เผยอาการหญิงตั้งครรภ์ 7 เดือนและติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ฯ หลังผ่าตัดคลอดรักษาที่รพ.จุฬาฯ วันนี้ ยังใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ยาโอเซลทามิเวียร์ครบ ไม่มีเชื้อแล้ว แต่พบปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

วันนี้ (27 ก.ค.) นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเยี่ยมอาการหญิงอายุ 24 ปี น้ำหนัก 115 กิโลกรัม ตั้งครรภ์ 7 เดือนและติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ซึ่งแพทย์ รพ.ราชบุรี ผ่าตัดช่วยคลอด และส่งตัวรักษาต่อที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2552 ว่า ในวันนี้ ผู้ป่วยอาการทรงตัว ยังคงอยู่ในห้องไอซียู ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หลังจากได้รับยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ครบ ผลการตรวจเชื้อซ้ำไม่พบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯแล้ว แต่พบเชื้อแบคทีเรียชนิดเชื้อรุนแรง ผลเอกซเรย์ปอดยังไม่ดีขึ้น แพทย์ได้ให้ยาปฏิชีวนะที่แรงขึ้น และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

สำหรับ อาการของลูกซึ่งรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลราชบุรี นายมานิต กล่าวว่า วันนี้ได้รับรายงานว่าอาการดีขึ้น ตรวจไม่พบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ แล้ว แต่แพทย์ยังคงดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเด็กคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวเพียง 1,500 กรัม

นาย มานิต กล่าวต่อว่า ได้กำชับให้โรงพยาบาลทุกแห่งให้การดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ทุกรายอย่างเต็ม ที่ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงหากติดเชื้อไข้ หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ โดยขอให้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการคลุกคลีอยู่ใกล้ชิดกับคนที่ป่วย เป็นไข้หวัด หรือหากจำเป็นต้องออกไปนอกบ้าน โดยเฉพาะในที่ชุมนุมชน จะต้องใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และล้างมือบ่อย ๆ โดยหากป่วยเป็นไข้ แม้จะไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ก็ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที เพื่อจะได้รับยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์หากพบเข้าข่ายเป็นไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ฯ ซึ่งยานี้สามารถให้ได้แม้จะอยู่ในระยะตั้งครรภ์ แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม จะนำประวัติของผู้ป่วยรายนี้ ให้ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศึกษาวิเคราะห์ หาสาเหตุการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกต่อไป

ทั้ง นี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้กระจายยาต้านไวรัสให้หน่วยงานและโรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง ครอบคลุมถึงโรงพยาบาลชุมชนแล้ว โดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรค 12 แห่งทั่วประเทศ มีแห่งละ 20,000 เม็ด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด แห่งละ 5,000 เม็ด โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป แห่งละ 2,000 เม็ด และโรงพยาบาลชุมชนแห่งละ 300 เม็ด

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/22397

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เวียดนามโดนไข้หวัดใหญ่ 2009 เล่นงาน ฮานอยและโฮจิมินห์ปิดมหาวิทยาลัยนานาชาติหนี

ASTVผู้จัดการรายวัน -- ทางการเวียดนามได้ประกาศปิดโรงเรียนประเภทกินนอนนับสิบๆ แห่งทั้งในกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์หลังจากไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่แพร่ระบาด เข้าสู่สถานศึกษาอย่างกว้างขวาง และวันศุกร์ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยนานาชาติชื่อดังทางภาคใต้ก็ประกาศหยุดการเรียนการสอนเป็นการชั่ว คราว

ภาพจากเว็บไซต์ rmit.edu.au นักเรียนหลากเชื้อชาติและภาษาเข้าเรียนที่นั่น แต่ตอนนี้กำลังโดนหวัดสายพันธุ์ใหม่ลาม

มหาวิทยาลัย RMIT University ในนครโฮจิมินห์ได้ประกาศปิดไปจนถึงวันที่ 3 ส.ค.ศกนี้ หรือ จนกว่าจะมั่นใจได้ว่าไม่มีการแพร่ระบาดของไวรัส A/H1N1 ในสถานศึกษาอีกแล้ว

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์แทงเนียน สัปดาห์ที่แล้วพบผู้ป่วยในมหาวิทยาลัย RMIT จำนวน 4 ราย เป็นนักศึกษา 3 และอาจารย์ชาวต่างประเทศอีก 1 คน ทั้งหมดถูกนำเข้าการรักษาในโรงพยาบาลโรคเขตร้อนโฮจิมินห์

มหาวิทยลัยแห่งนี้ประกาศบนเว็บไซต์เมื่อวันพฤหัสบดี จะหยุดการเรียนการสอนไปจนถึงวันที่ 31 ก.ค.ศกนี้ แต่ในวันศุกร์ได้ประกาศหยุดไปจนถึงวันที่ 3 ส.ค.

มหาวิทยาลัย RMIT เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำแห่งหนึ่งในเวียดนาม เป็นสาขาของสถาบันอุดมศึกษาชื่อเดียวกันจากออสเตรเลีย ที่มีการเปิดสอนหลักสูตรนานาชาต

RMIT กำลังประกาศรับนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์ จะเริ่มในเดือน ต.ค.นี้ด้วย มาเจอกับหวัดสายพันธุ์ใหม่พอดี

ก่อนหน้านั้นทางการนครโฮจิมินห์และกรุงฮานอยได้สั่งปิดโรงเรียนประจำ หลายแห่ง หลังจากกระทรวงสาธารณสุขเวียดนามประกาศการแพร่ระบาดในระดับชุมชน ซึ่งพบครั้งแรกสัปดาห์ที่แล้วในโรงเรียนกินนอนสองแห่งในโฮจิมินห์

พบนักเรียนป่วยเพิ่มอีก 6 รายในวันศุกร์ที่โรงเรียนเหวียนแข็ง (Nguyen Khanh) ทำให้จำนวนนักเรียนป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 8 ราย ทางการได้สั่งปิดโรงเรียน ทำให้ นักเรียนที่อยู่ประจำกว่า 2,000 คนต้องเดินทางออกจากอาณาบริเวณและกลับภูมิลำเนาเดิม

จนถึงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาทางการเวียดนามได้ยืนยันการพบผู้ป่วยไข้ หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วประเทศจำนวน 532 ราย ยังไม่มีรายใดเสียชีวิต ในนั้น 357 รายรักษาหายดีเป็นปกติและออกจากโรงพยาบาลแล้ว 175 รายแพทย์ยังต้องเฝ้าสังเกตอาการต่อไป.

ที่มา: http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9520000084543

"อมร ลีลารัศมี" ชี้หญิงตั้งครรภ์จากราชบุรีป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 อาการดีขึ้น

คมชัดลึก :นายกสมาคมโรคติดเชื้อฯ ระบุ หญิงตั้งครรภ์ชาวราชบุรีที่ป่วยหวัด 09 อาการดีขึ้น แต่ยังถือน่าห่วงอยู่ เผย ฉีดวัคซีนให้สามารถป้องกันอันตรายแก่ทารกในท้องได้

(27ก.ค.) นพ.อมร ลีลารัศมี นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย กล่าวกรณีหญิงตั้งครรภ์ ชาว จ.ราชบุรี ซึ่งมีอาการป่วยด้วยโรคหวัด 2009 ว่า ครั้งแรกที่มีการรับผู้ป่วยมารักษา อาการทั่วไปถือว่าน่าเป็นห่วงมาก โดยต้องให้ออกซิเจนถึง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ขณะนี้อาการก็เริ่มดีขึ้นแต่ก็ยังน่าเป็นห่วงอยู่ โดยให้ออกซิเจนลดลงเหลือเพียง 80 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้สำหรับบุตรของผู้ป่วย ที่มีการผ่าออกมานั้น พบว่ามีการติดเชื้อจริง แต่เป็นการติดเชื้อลักษณะการป้ายเท่านั้น ซึ่งเชื่อว่าจะไม่เกิดผลกระทบใดๆต่อเด็ก เพราะเชื้อดังกล่าวติดจากภายนอก ไม่ได้เข้าไปทำอันตรายเซล หรือภายในร่างกายของเด็กแต่อย่างใด

นพ. อมร กล่าวอีกว่า ส่วนการฉีดวัคซีนต้านหวัด 2009 ให้หญิงที่ตั้งครรภ์นั้น จากการทดลองในหลายประเทศพบว่านอกจากจะสร้างภูมิคุ้มกันให้แม่แล้ว ยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กที่อยู่ในครรภ์ด้วย เพราะแม่สามารถถ่ายเทภูมิคุ้มกันให้ได้โดยตรง ซึ่งนอกจากจะทำให้แม่ปลอดภัยแล้ว ทารกที่อยู่ในครรภ์ยังได้รับความปลอดภัยด้วยเช่นกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช้าวันนี้(27ก.ค.)โรงเรียน 4 แห่งของจังหวัดพิจิตร ที่ปิดตัวลงไปสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อหวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หลังจากที่มีนักเรียนจำนวนมากที่เจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว หลังเดินทางไปร่วมกิจกรรมวัดธรรมกาย โดยวันนี้เป็นวันแรกที่มีการเปิดเรียน โดยที่วิทยาลัยสารพัดช่างพิจิตร อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร คณะครูอาจารย์ก็ต้องทำการตรวจสอบอาการไข้เบื้องต้นของนักเรียนแบบรายตัว ก่อนเข้าโรงเรียน โดยหากมีอาการตัวร้อนก็จะให้เดินทางกลับบ้านทันที

นอกจากนั้นวิทยาลัยสารพัดช่างพิจิตร ยังแจกผ้าปิดปากให้นักเรียนทุกคนสวมใส่ก่อนเข้าห้องเรียน และใช้มาตรการห้ามนักเรียนที่เจ็บป่วยเข้าชั้นเรียน โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดเรียน ซึ่งนักเรียนจะสามารถโทรศัพท์มาลาพักการเรียนได้ที่อาจารย์ที่ปรึกษา โดยจะมีอาจารย์ประจำวิชาโทรศัพท์กลับไปเพื่อเช็คอาการป่วยอีกครั้ง ซึ่งทางโรงเรียนเชื่อว่าจะสามารถที่จะสกัดการแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่ 2009 ได้

ที่มา: http://www.komchadluek.net/detail/20090727/21929/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%9409%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99.html

"องค์การอนามัยโลก" แจงผู้เสียชีวิตเฉียด 800 คนจากไข้หวัดใหญ่ 2009 ส่วนใหญ่อายุ 12-17 ปี

องค์การอนามัยโลกยังไม่มีคำแนะนำเกี่ยวกับการมีบุตร ในช่วงนี้ หลังจากมีรายงานว่า กลุ่มสตรีมีครรภ์อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ของการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวานนี้ (24 ก.ค.) ว่า โรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้ขยายการแพร่ระบาดถึง 160 ประเทศ และจะมีผู้ติดเชื้อสูงถึง 2 พันล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของประชากรโลก ภายใน 2 ปีข้างหน้า โดยนายเคอิจิ ฟูคูดะ เจ้าหน้าที่อาวุโสขององค์การอนามัยโลก เปิดเผยว่า ไวรัสยังคงอยู่ในระยะแรก และยังจะแพร่ขยายต่อไปอีก ไวรัสมรณะนี้ ได้คร่าชีวิตประชาชนไปแล้วเฉียด 800 คน ภายในเวลาไม่กี่เดือน นอกจากนี้ นายฟูคูดะ กล่าวด้วยว่า เจ้าหน้าที่ และบริษัทผู้ผลิตยา กำลังตรวจสอบถึงการเร่งกระบวนการพัฒนาวัคซีน ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ภายใต้ความปลอดภัย และความมีประสิทธิภาพ ก่อนจ่ายวัคซีนให้กับประชาชน

องค์การอนามัยโลก ระบุด้วยว่า มีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในหลายประเทศ กลุ่มผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มประชาชนที่มีอายุน้อย อยู่ในวัย 12 - 17 ปี ขณะเดียวกัน ก็มีรายงานด้วยว่า บางแห่งมีการติดเชื้อส่วนใหญ่ ในกลุ่มวัยชรา รวมถึงมีรายงานระบุด้วยว่า กลุ่มสตรีมีครรภ์ก็เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ต่อการติดเชื้อนี้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม นายฟูคูดะ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกไม่มีคำแนะนำว่า สตรีควรมีบุตรหรือไม่ ในเวลานี้

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/21900

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

"วิทยา แก้วภราดัย" เตรียมขับเคลื่อนส่ง อสม. 9 แสนคน สำรวจกลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่ 2009

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเตรียมขับเคลื่อน อสม. 9 แสนคน ทั่วประเทศ ออกสำรวจประชากร ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อหากลุ่มเสี่ยงของการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่



นาย วิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าววันนี้ (26 ก.ค.) ในการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราชว่า ขณะนี้การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในกรุงเทพฯ อยู่ในระดับคงที่แล้ว และเริ่มกระจายสู่ต่างจังหวัด ตั้งแต่ครึ่งเดือนที่ผ่านมา ดังนั้น หากมีผู้ป่วยเกิดขึ้น ชุดเคลื่อนที่เร็วจะต้องตรวจสอบโดยเร็ว โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและอำเภอ จะต้องติดตามวิเคราะห์ และควบคุมโรค เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ขณะที่บุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข จะต้องเตรียมพร้อม

นายวิทยา กล่าวต่อว่า ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ประสานกับ อสม. ป้องกันไม่ให้ไข้หวัดใหญ่ 2009 ระบาดในชนบท โดยสัปดาห์หน้า จะขับเคลื่อน อสม.กว่า 9 แสนคน ทั่วประเทศ ออกสำรวจครัวเรือนพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัว คนอ้วน คนสูงอายุที่สุขภาพไม่ดี เป็นต้น จากนั้นจะทำบัญชีรายชื่อ และคัดกรอง หากกลุ่มเสี่ยงมีอาการป่วย ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที ส่วนคนที่มีสุขภาพดี ถ้าป่วยให้พักผ่อนอยู่กับบ้าน สังเกตอาการ โดยมติคณะรัฐมนตรีออกมาแล้วว่า ให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงาน หยุดอยู่กับบ้านได้ โดยไม่คิดเป็นวันลา

ส่วนผู้ที่สุขภาพดี ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง แต่เสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 นั้น นายวิทยา กล่าวว่า มีประมาณร้อยละ 35 เพราะได้รับยาต้านไวรัสช้าเกินไป เนื่องจากเมื่อมีอาการป่วยแล้ว ไปรับการรักษาที่คลินิก ซึ่งครั้งแรกไม่หาย แล้วไปรักษาที่คลินิกซ้ำอีกครั้ง เมื่อไปโรงพยาบาลจึงไม่ทันการ จึงสั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ประสานกับคลินิกภายในจังหวัดว่า หากมีผู้ป่วยที่มีอาการมาแล้ว 2 วัน ไข้ยังไม่ลด ให้ส่งโรงพยาบาลทันที และโรงพยาบาลใด ที่มีผู้ป่วยอาการหนัก สามารถขอกำลังเสริม ระดมแพทย์เชี่ยวชาญ มาช่วยเหลือผู้ป่วยได้ โดยในพื้นที่ภาคใต้ มีโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นศูนย์กลางในการดูแล

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/22135

หมอประเสริฐ เตือนสติ "คลินิก" ให้สั่งจ่าย "โอเซลทามิเวียร์" รักษา "ไข้หวัดใหญ่ 2009"

“หมอประเสริฐ” เตือนสติให้ “คลินิก” สั่งจ่าย “โอเซลทามิเวียร์” รักษาหวัด 2009 เผยต้องหารือข้อมูลรอบด้าน หวั่นเกิดผลข้างเคียงเหมือนญี่ปุ่น ไทยสำรองโอเซลทามิเวียร์ 15.2 ล้าน ผลิตเพิ่มอีก 10 ล้านเม็ด กระจายยาทั่วประเทศแล้วกว่า 2 ล้านเม็ด

ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานที่ปรึกษาทางวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขระดับ ชาติ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) มีความคิดที่จะขอหารือเกี่ยวกับจ่ายยา “โอเซลทามิเวียร์” รักษาหวัด 2009 ในระดับคลินิกในพื้นที่ต่างๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่ว่า ความเห็นส่วนตัวเห็นว่า ผลดีคือ ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาดังกล่าวเร็วขึ้น แต่ผลเสียคือบางคนอาจไปขอยาที่คลินิกใช้เพื่อการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งจุดประสงค์ของทีมวิชาการต้องการให้ยาดังกล่าวใช้เพื่อการรักษามากกว่า การป้องกัน เพราะเกรงเรื่องผลข้างเคียงของยา

“ที่ญี่ปุ่นพบว่าผลข้างเคียงของยาดังกล่าวทำให้เด็กวัยรุ่นฆ่าตัวตาย แต่ในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลนี้ และไม่ทราบว่าจะเหมือนกับประเทศญี่ปุ่นหรือไม่ เนื่องจากบริบทของคนญี่ปุ่นกับคนไทยในเรื่องการฆ่าตัวตายมีความต่างกัน จึงไม่ทราบว่าในไทยหากใช้ยาเพื่อการป้องกันจะเกิดผลเสียอย่างไร พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องติดตามและทีมที่ปรึกษาฯจำเป็นต้องมาชั่ง น้ำหนักโดยนำข้อมูลรอบด้านมาหารืออีกครั้ง”ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าว

ด้านรศ.(พิเศษ)นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 กรมการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการกระจายยาดังกล่าวในระดับคลินิก เพราะเรื่องดังกล่าวยังอยู่ในการพิจารณาของฝ่ายวิชาการ ซึ่งต้องพิจารณาอย่างรอบครอบทั้งผลดีและผลเสีย โดยวัตถุประสงค์มาจากดำริที่ต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องการเข้าถึงยาโอเซลทามิ เวียร์ของผู้ป่วยช้าไป เพื่อหวังผลการในการดูแลรักษาชีวิตผู้ป่วยให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งการรักษาพยาบาลไม่ใช่เพียงแต่เรื่องยาเพียงอย่างเดียว ยังรวมถึงยาลดไข้ การให้น้ำเกลือ การเฝ้าสังเกตอาการ ฯลฯ เป็นองค์ประกอบร่วมกันในการรักษา

“ข้อดีคือ ผู้ป่วยเข้าถึงยาในการรักษาได้เร็วขึ้น แต่การได้รับยาเร็วนั้นจะเร็วเกินไปจนได้ผลเสียหรือไม่ต้องพิจารณา ทั้งนี้หากมีการกระจายยาในระดับคลินิกท้องถิ่นแล้วค่อนค้างจะมีการคุมการใช้ ยายาก อีกทั้งความคิดเห็นส่วนตัวเห็นว่า ผู้ที่มาใช้บริการในคลินิกจะต้องเสียเงินหากได้รับยาโอเซลทามิเวียร์ ในขณะที่หากผู้ป่วยเดินทางไปยังสถานพยาบาลของภาครัฐที่มีสิทธิอยู่ อาทิ สถานพยาบาลสิทธิต่างๆของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการก็ไม่เสียค่ายา แต่หากคลินิกจะบริหารจัดการอย่างไร”รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี กล่าว

**ไทยสำรองโอเซลทามิเวียร์ 15.2 ล้าน
นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้กรมควบคุมโรคมียาโอเซลทามิเวียร์ทั้งหมด 5.2 ล้านเม็ด แบ่งเป็น ยาเดิมที่มีจากงบประมาณปี 2551 จำนวน 3.2 ล้านเม็ด จากนั้นในงบปี 2552 ได้สำรองเพิ่มอีก 1 ล้านเม็ด จากนั้นองค์การเภสัชกรรม(อภ.)ผลิตสำรองให้อีก 1 ล้านเม็ด ซึ่งขณะนี้ได้กระจายลงในพื้นที่ทั่วประเทศแล้วกว่า 2 ล้านกว่าเม็ดแล้ว ส่วนที่เหลือสำรองอยู่ที่กรมควบคุมโรคและอภ. ส่วนที่ได้จัดสรรของบกลางอีก 10 ล้านเม็ดกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดซื้อ นอกจากนี้ยังมีอภ.เดินหน้าการผลิตสำรองอีก 10 ล้านเม็ดก่อนหน้านี้เพื่อสำรองยา

“หากจะมีการกระจายยาดังกล่าวในระดับคลินิกคิดว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) จะสามารถควบคุมปริมาณการใช้ได้ดีก็ไม่น่ามีปัญหาใดๆ คลินิกใดจ่ายยาหมดก็มาเบิกจากสสจ. ซึ่งขณะนี้ทางโรงพยาบาลระดับจังหวัด และระดับชุมชนก็ใช้การบริหารจัดการดังกล่าวอยู่เช่นกัน”นพ.มล.สมชาย กล่าว

ที่มา: http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000083982

ตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของ "วัคซีนหวัด2009" จะออกหัวหรือออกก้อย?

นับเป็นข่าวดี ที่ประเทศไทยจะผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิดพ่น ซึ่งทำจาก “เชื้อเป็น” ออกมา ใช้ ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย ตั้งแต่ยังไม่เริ่มกระบวนการผลิต ทำให้หลายฝ่ายจับตาอย่างใกล้ชิดว่า ท้ายที่สุดแล้ว “วัคซีนหวัด 2009” ที่ประเทศไทยจะผลิตได้เป็นครั้งแรกจะออกหัวหรือออกก้อย

ก่อนจะมาเป็นวัคซีน แน่นอนว่าจะต้องมีการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ การเตรียมวัคซีนต้นแบบ การทดสอบความปลอดภัยในสัตว์ทดลองและหลอดทดลอง การวิจัยทางคลินิก หรือการศึกษาวิจัยในคน การขึ้นทะเบียน การควบคุมคุณภาพ และหลังจาก นำวัคซีนไปใช้แล้วยังต้องมีการเฝ้าระวังหลังการจำหน่าย อีกด้วย

กระบวนการหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของวัคซีน ซึ่งเป็นหน้าที่ของ กองชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ด้วยเหตุนี้ “X-RAY สุขภาพ” จึงมาพูดคุยกับ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ นางธีรนารถ จิวะไพศาลพงศ์ ผอ.กองการชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

นพ.นิพนธ์ อธิบายปูพื้นให้ฟังว่า “ยาชีววัตถุ” หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งหมายสำหรับนำมาใช้โดยตรงต่อร่างกายของมนุษย์ในการ วินิจฉัยบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค อาทิ สารกระตุ้น ภูมิคุ้มกัน เช่น วัคซีนท็อกซอยด์ สารภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป เช่น เซรุ่มแก้พิษงู ภูมิคุ้มกันตับอักเสบบี ภูมิคุ้มกันบาดทะยัก ผลิตภัณฑ์จากเลือด ผลิตภัณฑ์จากเซลล์ต้นกำเนิด สารก่อภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งเมื่อมีการนำเข้า หรือมีการผลิตยาชีววัตถุเหล่านี้ ก่อนจะนำไปขึ้นทะเบียน และนำไปจำหน่าย ใช้กับประชาชนจะต้องผ่านการตรวจสอบความปลอดภัย และประสิทธิภาพจากกองชีววัตถุก่อนทุกครั้ง ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะผ่านมาตรฐาน มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ตกมาตรฐาน สาเหตุเป็นเพราะกระบวนการวิจัยและพัฒนา ไม่ได้มาตรฐาน เป็นการนำเข้าจากประเทศที่กระบวนการผลิตไม่ดีนัก

“วัคซีน” คือ สารอนุมูล หรือสิ่งแปลกปลอมใด ๆ ที่ถูกจดจำได้ด้วยระบบภูมิคุ้มกันซึ่งเรียกว่า “แอนติเจน” ซึ่งก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า “แอนติบอดี้” ที่ถูกสร้างจากเซลล์ลิมโฟไซท์ชนิด บี เซลล์ ที่ถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจนชนิดใด ก็จะมีความจำเพาะต่อแอนติเจนชนิดนั้นเท่านั้น

ด้าน นางธีรนารถ อธิบายว่า “วัคซีนเชื้อเป็น” คือ วัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยเอาเชื้อโรค มาทำให้ฤทธิ์อ่อนลง จนไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้ แต่เพียงพอที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้ประเทศที่ผลิตวัคซีนต้องมีการควบคุมกำกับคุณภาพและความปลอดภัย โดยหน่วยงานของภาครัฐ ตั้งแต่ 1.การขึ้นทะเบียนตำรับยา 2.การควบคุมรุ่นการผลิต 3.ห้องปฏิบัติการกลางในการตรวจรับรองคุณภาพวัคซีน 4.การตรวจสอบมาตรฐานการผลิตที่ดี หรือ จีเอ็มพี 5.การเฝ้าระวังหลังจำหน่าย และ 6.การประเมินทางคลินิก ซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินการตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกครบถ้วนทั้ง 6 ระบบ

กองชีววัตถุ มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนิน การควบคุม กำกับวัคซีนและชีววัตถุตามข้อตกลงขององค์การอนามัยโลก ดังนี้

1.ทำหน้าที่เป็นห้องปฏิบัติการในการควบคุมคุณภาพชีววัตถุ (National Control Laboratory) คือ ตรวจรับรองคุณภาพชีว วัตถุเพื่อใช้พิจารณาประกอบการขึ้นทะเบียนตำรับหรือการประมูล ตรวจยืนยันคุณภาพชีววัตถุที่เกิดปัญหาในการใช้ ตรวจสอบคุณภาพชีว วัตถุที่มีปัญหาในลูกโซ่ความ เย็นของการขนส่งและการเก็บรักษา สนับสนุนการตรวจประเมิน โรงงานผลิตวัคซีนให้สอดคล้องกับมาตรฐานจีเอ็มพี

2.พิจารณารับรองคุณภาพชีววัตถุและอนุมัติรุ่นการผลิตหลังได้รับทะเบียนและก่อนอนุญาตให้จำหน่าย

“วัคซีนหวัด 2009” ที่ได้วิจัยและพัฒนาจนเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแล้ว ก่อนที่จะนำไปขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะต้องส่งตัวอย่างมาให้กองชีววัตถุตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการก่อนเหมือน ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปอื่น ๆ เช่น การตรวจสอบเอกลักษณ์ การตรวจสอบความแรง การตรวจสอบความปราศจากเชื้อ การตรวจสอบความเป็นพิษ การตรวจสอบความคงตัว การตรวจสอบทางเคมี-ฟิสิกส์ เป็นต้น

การควบคุมคุณภาพดังกล่าว ก็เพื่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่จะนำไปใช้กับประชาชน เป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น หากตรวจสอบแล้วไม่ได้มาตรฐาน คงไม่มีใครกล้าปล่อยให้ผ่านไปอย่าง แน่นอน.

นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน

ที่มา: http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=518&contentId=10209

"วิทยา" ปัดไทยแพร่ระบาดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ติดอันดับ 4 ของโลก

นครศรีธรรมราช - รมว.สาธารณสุขแจกคู่มือป้องกันไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ที่นครศรีธรรมราช ลั่น 30 ก.ค.นี้ส่ง อสม.ทั่วประเทศเกือบแสนคนร่วมคัดกรองผู้ป่วย ระบุยังควบคุมสถานการณ์ได้ ปัดข่าวการแพร่ระบาดในไทยไต่ขึ้นอันดับ 4 ของโลก แต่หากรุนแรงพร้อมประกาศเป็นวาระแห่งชาติ

วันนี้ (25 ก.ค.) ที่ห้างสหไทยสรรพสินค้านครศรีธรรมราช นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ประชุมชี้แจงพนักงานของห้างสหไทยสรรพสินค้าที่มาประชุมเพื่อรับรับทราบวิธีป้องกันโรคหวัด 2009 กว่า 500 คน

หลังจากนั้นนายวิทยา ได้กล่าวถึงสถานการณ์ของไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า ตอนนี้สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังเร่งดำเนินการก็คือการรณรงค์ป้องกัน ภาคประชาชน โดยวันที่ 30 ก.ค.นี้จะกระจาย อสม. จำนวน 987,000 คนทั่วประเทศ ทุกหมู่บ้านออกรณรงค์ประชาชนในแต่ละหมู่บ้านและร่วมคัดกรองผู้ป่วยในแต่ละ หมู่บ้านในการป้องกันตัวจากโรคหวัด 2009

สิ่งที่ตนต้องเร่งดำเนินการในขณะนี้ก็คือ การเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลโดยวันนี้ได้มีการแบ่งให้รัฐมนตรีช่วยออกไป ตรวจความพร้อมของแต่ละโรงพยาบาลทั่วประเทศในการทำทางด่วนพิเศษในการแยกผู้ ป่วยไข้หวัดออกจากผู้ป่วยทั่วไปและให้ผู้ป่วยที่เป็นหวัดได้รับการรักษาเร็ว ที่สุดรวมถึงให้ได้รับยาโอซาทิเวียร์ให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันการเสียชีวิต

ส่วนกรณีที่มียอดของผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นนั้น นายวิทยากล่าวว่า ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่มียอดเพิ่มแต่ทุกประเทศทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น เหมือนกันหมด เพราะทุกคนไม่มีภูมิป้องกัน และหากยังมีการฝืนข้อแนะนำไม่สนใจในการข้อแนะนำก็มีสิทธิ์ที่จะป่วยได้ ตนอยากจะเรียกร้องให้คนไทยได้มีความรับผิดชอบร่วมกัน คนที่ป่วยก็อยู่กับบ้านหากออกข้างนอกก็สวมหน้ากากอนามัยอย่าฝืนคำแนะนำต้อง มีความรับผิดชอบร่วมกันและมนุษย์จะลดการป่วยลงไปได้ก็ต่อเมื่อมีวัคซีนพอ สำหรับทุกคน

สำหรับวัคซีนที่ประเทศไทยเราได้สั่งซื้อนั้นเราเป็นประเทศต้นๆ ที่จะได้รับวัคซีนชนิดนี้ประมาณต้นเดือนธันวาคม ส่วนวัคซีนที่ผลิตในประเทศก็จะเริ่มผลิตและใช้ได้ประมาณ ธ.ค.-ม.ค.นี้ซึ่งจะลดการสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ โดยวัคซีนที่เราสามารถผลิตได้นั้นจะประมาณ 2-3 ล้านโดส

สำหรับกรณีที่มีข่าวว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรค ไข้หวัดใหม่อยู่ในอันดับ 4 ของโลกนั้น น่าจะเป็นเรื่องของการพูดกันไปมากกว่า เพราะองค์การอนามัยโลกไม่ได้มีการรายงานลำดับหรือยอดผู้ป่วย โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลกได้รายงานว่าไทยอยู่ในอันดับ 7 และหลังจากนั้นก็ไม่ได้มีการรายงานอีกเลยปิดเรื่องของตัวเลขไปเลยทั่วโลกและ มีการคาดการณ์ว่าในเดือน ธ.ค.การระบาดทั่วโลกจะเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมก็ต้องเฝ้าระวัง

ส่วนสถานการณ์ไข้หวัด 2009 นั้นขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขยังสามารถควบคุมได้ แต่ถ้าหากสถานการณ์ยังรุนแรงหรือเพิ่มมากขึ้นก็จะเตรียมประกาศให้ไข้หวัด 2009 เป็นวาระแห่งชาติต่อไป

หลังจากนั้นคณะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ได้เดินทางไปตรวจจุดทางพิเศษที่โรงพยาบาลพรหมคีรี อ.พรหมคีรี นครศรีธรรมราช

ที่มา: http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000084280

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รพ.จุฬาฯรับตัวหญิงติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 แล้วแต่อาการยังน่าเป็นห่วง

รพ.จุฬาฯ รับหญิงป่วยหวัด 2009 จากราชบุรีรักษาต่อ ขณะนี้อยู่ในห้องไอซียู เบื้องต้นอาการยังน่าห่วง ด้านมาตรการจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์ในคลินิกเริ่มนำร่องแล้ววันนี้ที่ จ.ราชบุรี..

ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีหญิงสาววัย 26 ปีจาก จ.ราชบุรี ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ขณะที่ตั้งครรภ์ได้ 7 เดือนเศษ เข้ารับการรักษาตัวตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา แพทย์จึงต้องผ่าตัดเอาเด็กออก เมื่อวันที่ 23 ก.ค. เพราะเกรงว่าจะติดเชื้อและอาจเป็นอันตรายนั้น

ล่าสุด เมื่อกลางดึกวานนี้ (24 ก.ค.) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ ได้รับประสานงานจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ส่งตัวหญิงสาวคนดังกล่าวจาก จ.ราชบุรี มารักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลจุฬาฯ แล้ว โดย รศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาฯ กล่าวว่า อาการแม่เด็ก ล่าสุดอาการยังน่าเป็นห่วงพักรักษาตัวในห้องไอซียู รักษาตามอาการ เบื้องต้นมีอาการทางปอด ต้องรอดูอาการอีกประมาณ 1-2 วัน

ด้านนาย มานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้มอบหมายหมายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นผู้รักษา เบื้องต้นได้รับรายงานจากโรงพยาบาลว่าคนไข้รักษาอยู่ในห้องไอซียูและอาการ ยังทรงตัวต้องรอดูอาการอีกประมาณ 1-2 วัน

ส่วนมาตรการที่จะให้ คลินิกทั้ง 17,000 แห่งทั่วประเทศสามารถจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์ให้กับคนไข้นั้น นายมานิต กล่าวว่า จะเริ่มในวันนี้ (25 ก.ค.) โดยนำร่องที่ จ.ราชบุรี เป็นแห่งแรก ซึ่งจะให้คลินิกละ 5 ชุด หรือ 50 เม็ดสามารถไปรับได้ที่โรงพยาบาลอำเภอ และหากมีผู้ป่วยต้องการใช้ยาเป็นจำนวนมากทำให้ยาไม่เพียงพอก็สามารถไปรับ เพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลอำเภอทันที โดยทางคลินิกต้องรักษาตามแนวทางของกระทรวงฯ อย่างเข้มข้น และหลังจากจ่ายยาให้กับคนไข้ต้องทำประวัติคนไข้อย่างละเอียด มีที่อยู่พร้อมเบอร์ติดต่อ และทำบันทึกหลังจากการจ่ายยาทุกวันว่าลักษณะอาการเป็นอย่างไร ส่วนค่ารักษาได้กำชับให้ทุกคลินิกคิดค่ายาตามราคาต้นทุนที่เม็ดละ 25 บาท และหากคนไข้ที่มารักษามีเงินไม่เพียงพอก็ขอแพทย์ให้รักษาให้ฟรี หลังจากที่ได้เริ่มนำร่องที่ราชบุรี จะขอรอดูผลการดำเนินงานประมาณ 7 วัน เพื่อนำมาประเมินข้อดีข้อเสียเพื่อนำมาเป็นแนวทางที่จะนำไปใช้กับคลินิกทั่ว ประเทศ

http://www.thairath.co.th/content/special/21982

สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2009 ยังน่าเป็นห่วง สาวท้องติดหวัด ผ่าตัดเด็กออก หนุ่มบางปะกงดับอีก

สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2009 ยังน่าเป็นห่วง ล่าสุด หนุ่มวัย 30 ปีที่ จ.ฉะเชิงเทรา เสียชีวิตหลังเข้า รพ. 1 วัน ส่วนที่ราชบุรี สาวท้อง 7 เดือนติดหวัดต้องผ่าเอาลูกออก แต่อาการหนักทั้งคู่ต้องอยู่ในห้องไอซียู...



วันนี้ (24 ก.ค.) นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศว่า ล่าสุด ได้ลงพื้นที่ จ.ราชบุรี หลังจากทราบว่ามีหญิงสาวท้องแก่ 7 เดือน ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ จนแพทย์ต้องผ่าตัดเอาเด็กออกเพื่อช่วยเหลือ โดยเบื้องต้นทราบว่า หญิงสาวคนดังกล่าวอายุ 26 ปี น้ำหนัก 115 กิโลกรัม เข้ารับการรักษาอาการติดเชื้อหวัดตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. และแพทย์เพิ่งผ่าตัดเอาเด็กออกมาเมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา เด็กอายุครรภ์ 7 เดือนเศษ น้ำหนัก 1500 กรัม เพศหญิง

นายมานิต กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบยืนยันว่า ทั้งแม่และลูกติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ต้องอยู่ในห้องไอซียูทั้งคู่ โดยแม่อาการทรุดหนัก ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ส่วนลูกแพทย์ได้ให้ยาแอนตี้ไวรัส โอเซลทามิเวียร์ พร้อมกับเก็บตัวอย่างส่งตรวจให้แล็บที่กรุงเทพฯ เพื่อยืนยันอีกครั้ง แต่ขณะนี้ทั้งคู่อยู่ในความดูแลของ ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี แพทย์โรงพยาบาลศิริราช และเป็นนายกสมาคมโรคติดต่อแห่งประเทศไทย และ พ.ญ.ศรีวรรณา พูลสรรพสิทธิ์ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข ดูแลอย่างใกล้ชิด

นายมานิต กล่าวด้วยว่า สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ในพื้นที่ จ.ราชบุรี นั้น มีผู้เสียชีวิตรวมแล้ว 7 ราย ส่วนผู้ติดเชื้อยังไม่มีตัวเลขที่แน่นอน ซึ่งผู้เสียชีวิตจากประวัติพบว่าส่วนใหญ่จะไปที่คลินิกก่อน 2-3 วัน หลังจากนั้นจึงมาที่โรงพยาบาล ทำให้การรักษาช้าไป จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้น จึงขอแนะนำว่าหากผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัวเมื่อเป็นหวัดเบื้องต้นให้กินยา พาราเซตามอลก่อนภายใน 48 ชั่วโมง หรือ 2 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นไข้ไม่ลด มีอาการปวดเมื่อย เหนื่อยหอบ ให้รีบไปโรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวให้ไปโรงพยาบาลตรวจทันที อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้ให้ จ.ราชบุรี เป็นจังหวัดนำร่อง กรณีทางกระทรวงสาธารณสุขจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์ ต้านไข้หวัดให้กับคลินิกทุกแห่งเพื่อรักษาผู้ป่วย จะได้ไม่แออัดโรงพยาบาล และให้คลินิกนั้นเก็บประวัติผู้ป่วยไว้เพื่อทำรายงาน หากโครงการนี้เกิดผลดีจะทำต่อในทุกจังหวัด ดังนั้นผู้ป่วยเป็นหวัดสามารถไปที่คลินิกได้เลย

วันเดียวกัน ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา นพ.ทวีเกียรติ บุญยไพศาล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 3 ได้เดินทางมาตรวจติดตามความคืบหน้าการเฝ้าระวังและร่วมกันวางมาตรการ หลังมีผู้ป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เสียชีวิตลงหลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบางปะกงพียง 1 วัน โดยชายที่เสียชีวิต พิการมาแต่กำเนิดอายุประมาณ 30 ปี มาตรการของจังหวัดฯ การไม่ให้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ได้มีการเฝ้าระวัง ให้มีการรักษาพยาบาลที่เข้มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงหญิงมีครรภ์ กลุ่มโรคอ้วน เรื้อรัง คนแก่คนชรา พิจารณาการจ่ายยาต้านไวรัสให้ก่อน รวมทั้งซ้อมแผนการระบาดไข้หวัดใหญ่รุนแรงด้วย

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/21800

"อัมมาร" จวกรัฐบาลแก้โรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ผิดทาง ทำคนตื่นกลัว

ชี้ในอนาคตหากสังคมไทยยังแตกตื่นเกี่ยวกับโรคนี้จนเกินไป อาจจะมีผลกระทบรุนแรง ขณะที่ มท.จับมือ สปสช. ทุ่มงบ 2พันล้าน ตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาหวัด 09 ให้อปท.-อบต.อบจ. ...

นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าววันนี้ (23 ก.ค.) ภายหลังบรรยายพิเศษเรื่อง “การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ” จัดโดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่า การแก้โรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ของรัฐบาลผิดทางเพราะมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจนทำให้เกิดความตระหนกแตกตื่นในหมู่ ประชาชนมากเกินไป ซึ่งที่จริงแล้วรัฐบาลควรที่จะเน้นเรื่องของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เชื้อโรคชีวภาพตัวนี้ ว่า

1.เป็นเชื้อโรคที่แพร่ง่าย
2.ไม่เป็นอันตรายรุนแรงหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

แต่ที่ผ่านมาการรายงานตัวเลขผ่านสื่อตลอดเวลา ทำให้ประชาชนตื่นกลัว ตะหนก เกิดความหวาดกลัวในสังคมอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาได้

นายอัมมาร กล่าวว่า แม้จะไม่ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจมากนัก อาจจะมีเพียงแค่ตัวเลของนักท่องเที่ยวที่ลดลง แต่ในอนาคตหากสังคมไทยยังแตกตื่นเกี่ยวกับโรคนี้จนเกินไปก็อาจจะมีผลกระทบ รุนแรงได้

“สิ่งสำคัญตอนนี้คิดว่ารัฐบาลควรจะเน้นเการป้องกัน และให้ความรู้กับประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันการแพร่เชื้อโรคในที่มีความแออัดของผู้คน เช่นโรงเรียนกวดวิชา สถานที่สาธารณะที่เป็นห้องแอร์ ที่มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก แทนการรายงานตัวเลขที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาเพราะที่จริงแล้วทุกๆ ประเทศก็มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเหมือนกัน แม้จะยอมรับว่ารัฐบาลทำไปตามหน้าที่แล้วแต่มองดูแล้วก็เห็นว่ายังไม่โปร่งใส ไม่ชัดเจน ไม่เคลียร์ในเรื่องการดูแลโรคไข้หวัดชนิดนี้” นายอัมมาร กล่าว

ด้าน นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย กล่าวภายหลังหารือร่วมกับ นพ.มงคล ณ สงขลา อดีต รมว.สาธารณสุข ประธานคณะกรรมการสนับสนุนการป้องกันการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 (สสส.) ว่า กระทรวงมหาดไทยร่วมมือกับ สสส. ในการจัดตั้งศูนย์สนับสนุนและให้คำปรึกษาแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ทั้ง องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ทั่วประเทศ โดยใช้งบประมาณจากกองทุนสุขภาพชุมชน ที่ร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จำนวน 2,000 ล้านบาท

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/21529

"ฟ้าทลายโจร" สุดยอดสมุนไพรแห่งปี 2009

ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสภาวะการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 บ้านเราก็หลีกหนีไม่พ้นเช่นกัน สังเกตได้จากการแถลงของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่าโรคได้กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ทำให้ยอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน - 21 กรกฎาคม 2552 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ทั้งหมด 6,776 ราย เสียชีวิต 44 ราย



ด้วยเหตุนี้เราจึงควรรับประทานอาหารที่สามารถ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เพียงพอ สมุนไพร"ฟ้าทะลายโจร"จึงถูกพูดถึงมากที่สุด เนื่องจากเป็นยาที่มีความหมายในตัวเองไม่น้อย เพราะแม้แต่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าฟ้าประทานมาให้ปราบโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเสมือน เหล่า โจรร้าย ส่วนในภาษาจีนกลาง ยาตัวนี้มีชื่ออย่างเพราะพริ้งว่า "ชวนซิเหลียน" แปลว่า "ดอกบัวอยู่ในหัวใจ" ซึ่งมีความหมายสูงส่งมาก วงการ แพทย์จีนได้ยก ฟ้าทะลายโจรขึ้นทำเนียบ เป็นยาตำราหลวงที่มีสรรพคุณโดดเด่นมากตัวหนึ่ง ที่สำคัญคือสามารถใช้เป็นยาเดี่ยวเพียงตัวเดียวก็มี ฤทธิ์แรงพอ ที่จะรักษาโรคได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยากในสมุนไพรตัวอื่น

สมุนไพร ฟ้าทะลายโจร ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการหวัด และเสริมภูมิต้านทานดีกว่าการใช้ ยาปฏิชีวนะในคนที่เป็นหวัดบ่อยๆ ร้อนในบ่อยๆ เนื่องจากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ภูมิต้านทานอ่อนลง การรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจะช่วย กระตุ้น ภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่เป็นหวัดง่าย ร้อนในจะหายไป และสมุนไพรฟ้าทะลายโจรดีกว่ายาปฏิชีวนะ ตรงที่ไม่เกิดการง่วงนอน ไม่เกิดการดื้อยา และยัง ป้องกันตับ จากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซตามอล หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม



ขณะ ที่ นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) อดีตอธิบดีกรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะวิธีรักษาไข้หวัดด้วยแพทย์แผนไทย ใช้สมุนไพร"ฟ้าทะลายโจร"ยาเก่าแก่ของประเทศจีน ซึ่งการวิจัยด้านเภสัชวิทยาพบว่า ฟ้าทะลายโจรสามารถเพิ่มภูมิต้านทาน ลดไข้ และลดการอักเสบ ช่วยให้จมูกโล่ง น้ำมูกลดหรือแห้ง โดยไม่เกิดอาการง่วงซึม แต่มีข้อควรระวังถ้าปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดเอว เวียนหัว แสดงว่าอาจแพ้ให้หยุด และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะฟ้าทะลายโจรเป็นยาเย็นอาจทำให้มือเท้าชาหรืออ่อนแรง

หมอวิชัย เปิดเผยว่า ขณะนี้โรคไข้หวัดกำลังระบาดในประเทศไทย ลักษณะของการระบาดบ่งชี้ว่าน่าจะเกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่มีการ กลายพันธุ์บางส่วน จากสายพันธุ์เดิมตามธรรมชาติของเชื้อโรค ซึ่งเกิดขึ้นเป็นระยะๆ โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย น้ำมูกไหล มีเสมหะ ไอ คันคอ แสบคอ ข้อสำคัญอาการมักยืดเยื้อ แทนที่จะเป็นแล้วหายในเวลา 2-3 วัน มักจะเป็นนาน 1-2 สัปดาห์ บางรายอาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น หลอดลมอักเสบ หรือบางรายที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ในคนสูงอายุ เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันอาจถึงขั้นปอดบวมได้

อดีตอธิบดีกรมแพทย์ แผนไทยฯ กล่าวว่า การรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันโดยทั่วไปเป็นเพียงการรักษาตามอาการซึ่งมักมี อาการข้างเคียง เช่น ยาลดน้ำมูก ทำให้ง่วง และเสมหะเหนียว บางรายทำให้ไอมากขึ้นและไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส ขณะที่ยาต้านไวรัสที่มีอยู่ในปัจจุบันมีราคาแพงมาก ฤทธิ์ข้างเคียงสูงและมักไม่ได้ผลกับไข้หวัด โดยทั่วไปจึงไม่มีการใช้ จึงขอแนะให้ใช้การแพทย์แผนไทยเป็นทางเลือกสำหรับประชาชน

"ยาสมุนไพร ที่ใช้ได้ผลดี คือ ฟ้าทะลายโจรขนาด 2 แคปซูลวันละ 3-4 ครั้งหรืออาจใช้ตามตำรับดั้งเดิมคือ กรณีเป็นต้นสดใช้ยอดเคี้ยวสด ๆ ครั้งละ 4-5 ใบ วันละ 3-4 ครั้ง กรณีเป็นต้นแห้งให้ใช้ทุกส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือดินประมาณ 3 กรัม หรือ 1 กำมือโหย่ง ๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้นจนเดือด ดื่มครั้งละ 2 ถ้วยชาหรือประมาณครึ่งแก้ว (125 ซีซี) วันละ 3-4 ครั้งถ้าน้ำแห้งให้เติมน้ำเพิ่มได้เล็กน้อย แต่ไม่ต้องใส่ยาเพิ่มในวันเดียวกัน วันต่อไปหากอาการยังไม่ดีขึ้นให้รับประทานเพิ่มได้โดยวิธีเดียวกัน"หมอวิชัย กล่าว



ประธาน คณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม กล่าวอีกว่า ฟ้าทะลายโจรมีกลไกการออกฤทธิ์ที่ได้ผลดีต่อโรคหวัดมาก โดยมีฤทธิ์เพิ่มภูมิต้านทาน ลดไข้ และลดการอักเสบ ช่วยให้จมูกโล่ง น้ำมูกลดหรือแห้ง โดยไม่เกิดอาการง่วงซึมและช่วยลดไข้และลดอาการเจ็บคอ ระคายคอได้ด้วย ทั้งนี้มีข้อควรระวังคือ ถ้ารับประทานฟ้าทะลายโจรแล้วปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดเอว เวียนหัว แสดงว่าอาจแพ้ยา ให้หยุดยา และไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะฟ้าทะลายโจรเป็นยาเย็นอาจทำให้มือเท้าชาหรืออ่อนแรงได้

นอกจาก นี้ หมอวิชัย ยังแนะนำให้รักษาร่างกายให้อบอุ่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ สำหรับสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือ การดื่มของเย็น ควรงดรับประทานของมัน ๆ และของหวาน ๆ เพราะทำให้เสมหะเพิ่มและทำให้ไอมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปการดูแลรักษาตนเองตามวิธีดังกล่าวข้างต้น อาการจะดีขึ้นในเวลาเพียง 1-2 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน โดยเฉพาะหากไข้ไม่ลด ไอ เจ็บคอมากขึ้น เสมหะข้นเหนียวและมีสีเหลืองหรือสีเขียวควรไปพบแพทย์

"ฟ้าทะลายโจร" เป็นสมุนไพรที่รู้จักกันมากในภาคพื้นเอเซีย ทั้งจีน ฮ่องกง และอินเดีย ส่วนในประเทศจีนนั้นได้สกัดออกมาเป็นยาซึ่งมีหลายรูปแบบ ถ้าเป็นยาฉีดก็มีชื่อว่าYamdepieng, Chuanxinlian Ruangas Injection และเป็นยาเม็ดก็มีชื่อว่า Chuanxinlian Antiphologistic Pill, Chuanxinlian Tablets, Kang Yan Tablets ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรงส่วนปลายกิ่งเป็นสี่เหลี่ยม จะแตกกิ่งก้านออกเฉพาะด้านข้างเท่านั้น กิ่งก้านมีสีเขียวและจะสูงประมาณ 1-2 ฟุต ออกใบเดี่ยว ใบแคบตรงปลายและโคนใบแหลม ผิวใบเป็นมันมีสีเขียว ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ และส่วนยอดของต้น ดอกเป็นหลอด ปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบสีขาว หรืออมม่วงอ่อนๆ ดอกจะแบ่งออกเป็น 2 ปาก ที่ปากบนแยกออกเป็น 3 กลีบล่าง 2 กลีบ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ผลคล้ายกับผลของต้นต้อยติ่ง แต่มีขนาดเล็กและสั้นกว่า ผลนี้จะตั้งมุมก้านดอก เมื่อผลแก่เต็มที่ก็แตกออกเป็นสองซีกทำให้มองเห็นเมล็ดภายในสีน้ำตาลแบน ๆ มีอยู่จำนวนมาก การขยายพันธุ์ เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด และจะปลูกได้ทุกฤดูกาลด้วยขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด



ขณะ ที่สรรพคุณ ช่วยแก้บิดชนิดติดเชื้อ แก้ทางเดินอาหารอักเสบ แก้หวัด แก้ทอนซิล แก้ปอดอักเสบ และแก้อาการท้องเดิน โดยใช้ต้นแห้งประมาณ 1-3 กำมือเอามาหั่น แล้วต้มกับน้ำดื่ม ส่วนเป็นยาแก้ไข้นั้นให้ใช้ครั้งละ 1 กำมือ ต้มกับน้ำดื่มเวลามีอาการ หรือก่อนอาหารเช้าเย็นและถ้าเป็นโรคภายนอก ส่วนใบ ช่วยรักษาแผลน้ำร้อนลวก แก้ไฟไหม้ โดยการนำมาบดผสมกับน้ำมันพืชใช้ทาตรงบริเวณที่เป็นแผล

วิธีและปริมาณ ที่ใช้ ถ้าใช้แก้ไข้เป็นหวัด ปวดหัวตัวร้อน ใช้ใบและกิ่ง 1 กำมือ (แห้งหนัก 3 กรัม สดหนัก 25 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ ถ้าใช้แก้ท้องเสีย ท้องเดิน เป็นบิดมีไข้ ใช้ทั้งต้นหรือส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร ผึ่งลมให้แห้ง หั่นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ (หนักประมาณ 3-9 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มตลอดวัน บางคนรับประทาน ยาฟ้าทะลายโจร จะเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดเอว เวียนหัว แสดงว่าแพ้ยา ให้หยุดยา และเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น หรือลดขนาดรับประทานลง.

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/edu/21721

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อดีตนายกทักษิณเปิด facebook แนะนำการแก้ปัญหาไข้หวัดพันธุ์ใหม่ 2009

‘วิทยา’ บอก เป็นความตั้งใจดี แต่คงไม่สมัครแข่ง เพราะเชื่อมั่นในมาตรฐานก.สาธารณสุข ปัดให้คะแนนการแก้ไขปัญหาหวัด 09 บอกที่ผ่านมาได้ปรับปรุงตัวเองมาตลอด ให้ข้อมูลที่แท้จริงกับประชาชน ไม่ปิดปัง

นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าววันนี้ (24 ก.ค.) ถึงกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิด Facebook แนะ นำการแก้ปัญหาไข้หวัดพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า เป็นความตั้งใจดี ที่ช่วยเหลือประชาชน ตนคงไม่สมัครแข่งอย่างแน่นอน เพราะมากหมอก็มากความ สิ่งสำคัญเชื่อมั่นในมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข หากมีการล้วงลูกหรือเกินหลักวิชาการ ประชาชนอาจสับสน

เมื่อ ถามถึงการให้คะแนนการแก้ไขปัญหาไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ นายวิทยา ปฏิเสธที่จะให้คะแนนตนเองว่าสอบผ่านหรือไม่ โดยระบุว่า มีการปรับปรุงตนเองมาตลอด พยายามให้ข้อมูลที่แท้จริงกับประชาชนมากที่สุด ไม่ปิดปัง

ส่วน การชุมนุมใหญ่ที่วัดแก้วฟ้า จ.นนทบุรี รมว.สธ. กล่าวว่า การรักใครชอบใคร มากแค่ไหนควรดูแลสุขภาพตัวเองด้วย หากมีการเจ็บป่วยไม่ควรอยู่ร่วมในสถานที่แออัด

นาย วิทยา กล่าวถึงข่าวร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนว่า เข้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชนในเครือข่าย สปสช. ทางโรงพยาบาลไม่ยอมให้ยาต้านไวรัสจนทำให้เสียชีวิต นั้น ได้ สั่งการให้นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พร้อมกำชับให้กวดขันเรื่องมาตรฐานการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009 และการให้ยาต้านไวรัส ของโรงพยาบาลเอกชนในเครือข่าย สปสช. ให้เป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข และมอบหมายให้นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประสานขอความร่วมมือกับโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด ทั้งในและนอกเครือข่าย สปสช. อีกได้

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/21737

อังกฤษพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 แล้วกว่า 1 แสนคน

วันนี้ (24 ก.ค.) กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 30 คน จากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ประกอบด้วยในอังกฤษ 26 คน และสกอตแลนด์ 4 คน ส่วนอีก 840 คน อยู่ในโรงพยาบาลที่อังกฤษ ซึ่งรวมถึงที่อยู่ในหอผู้ป่วยหนักอีก 63 คน
ด้านเจ้าหน้าที่แพทย์อังกฤษ เปิดเผยถึง ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าของสัปดาห์ที่แล้ว ที่มีอยู่ 55,000 คน ว่า เป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่คนไข้ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง นอกจากนี้ อังกฤษได้จัดตั้งระบบบริการสายด่วนในการสั่งยาต้านไวรัสทางโทรศัพท์ เพื่อให้สามารถสั่งจ่ายยาต้านไวรัสทางอินเตอร์เนต และทางโทรศัพท์ได้ โดยมีเจ้าหน้าที่สอบถามอาการในเบื้องต้นก่อน.

ที่มา: http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=5&contentID=10059

ปัญหาการระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 ปัจจัยลบอันดับ1ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจทรรศนะประชาชนต่อการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,200 คน วันที่ 17-22 ก.ค.52 ว่าปัญหาการระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 กลายเป็นปัจจัยลบอันดับหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งด้านท่องเที่ยวและการบริโภคประชาชน โดยคาดว่าหากการระบาดเกิดขึ้นต่อเนื่องในไตรมาสสาม จะทำให้รายได้ท่องเที่ยวและการบริโภคลดลง 30,000-60,000 ล้านบาท และทำให้จีดีพีไตรมาสสาม -3.5% ถึง -4.5% ขณะที่ จีดีพีทั้งปีเหลือ -3.8% ถึง -4.8% แต่หากการระบาดยังยืดเยื้อถึงไตรมาสสี่ จะกระทบต่อรายได้การท่องเที่ยวและการบริโภคลดลง 60,000-120,000 ล้านบาท ทำให้จีดีพีไตรมาสสี่ -0.5% ถึง -1% และจีดีพีทั้งปีติด -4% ถึง -5.5%

ทั้งนี้การระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัย เพราะตอนนี้คนกลัวติดไข้หวัดจนไม่กล้าเดินทางออกไปใช้จ่าย ท่องเที่ยว ชอปปิง กินอาหารนอกบ้านทั้งกลางวันกลางคืน ทำให้ภาคธุรกิจจะขายสินค้าและบริการได้น้อยลง จำเป็นต้องจัดโปรโมชั่นมากขึ้นเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ซึ่งจุดนี้จะกลายเป็นปัจจัยลบสำคัญต่อการสำรวจดัชนีผู้บริโภคของเดือน ก.ค. รวมถึงเงินเฟ้อให้ติดลบได้นานกว่าที่คาดหมายด้วย

“ต้องยอมรับว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีผลกระทบทางจิตวิทยา และทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดว่าจะฟื้นตัว ไตรมาสสี่ เพราะทำให้การบริโภคและกิจกรรมบันเทิงลดลง และยิ่งมีคนติดเชื้อและเสียชีวิตมากขึ้น ประชาชนก็ยิ่งมีความกังวล ซึ่งสะท้อนว่าคนไทยยัง ไม่มั่นใจต่อมาตรการป้องกันไข้หวัดของรัฐที่ออกมา เพราะแนวโน้มการระบาดในไทยยังเพิ่มสูง จากต้นทุนเดือน ก.ค.ที่มีสัดส่วนผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อเพียง 0.4% แต่ขณะนี้เพิ่มเป็น 0.65% และยังมีคนติดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่รัฐต้องเร่งทำคือการป้องกันดูแลให้ผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตลดลง ควบคู่กับการบริหารเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา ภายใต้การดำเนินมาตรการที่เป็นรูปธรรม ไม่ใช่พูดเพียงว่าให้เชื่อมั่นเถอะ โดยถ้ารัฐเรียกความเชื่อมั่นประชาชน กลับมาได้ แม้การระบาดยังมีอยู่แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจน่าจะคลายความรุนแรงลงได้

นางยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำการ สำรวจความคิดเห็นประเด็นเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย กล่าวว่า ผลสำรวจระบุว่า ประชาชน 51.4% รู้สึกกังวลเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ 2009 กังวลมากที่สุด 15.7% ปานกลาง 25.1% น้อย 6.1% น้อยที่สุด 1.2% ไม่กังวล 0.5% โดยให้คะแนนความกังวล 3.75 คะแนน จากเต็ม 5 คะแนน ซึ่งทำให้ผู้ตอบ 42.1% ระบุว่าจะมีการใช้จ่ายน้อยลง ส่วนอีก 43.6% ไม่เปลี่ยนแปลง และเพิ่มขึ้นเพียง 14.3% โดยผลสำรวจ 28.8% ระบุว่า การระบาดไข้หวัดคือปัจจัยลบอันดับหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจประเทศแย่ รองลงมาเป็นความไม่มั่นใจต่อเศรษฐกิจไทย 19.4% ราคาสินค้าสูงขึ้น 16.5% และราคาน้ำมันแพง 11% นอกจากนี้การระบาดของไข้หวัดยังเป็นปัจจัยลบสูงสุดถึง 31.4% ที่ทำให้การบริโภคลดลง มากกว่าภาวะเศรษฐกิจแย่ และราคาสินค้าสูงขึ้น

“ผลสำรวจสะท้อนว่าปัญหาไข้หวัดใหญ่ 2009 ได้ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของคน ทำให้การเข้าชมภาพยนตร์ การซื้อสินค้านอกบ้านตามแหล่งชุมชน การชมคอนเสิร์ต การแสดงที่มีคนมาก และระยะเวลาในการเลือกซื้อสินค้าลดลง”.

ที่มา: http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=310&contentID=10020

ไข้หวัดใหญ่ 2009 ระบาด แรงส่งอุตสาหกรรมสิ่งทออู้ฟู่ ยอดสั่งผลิตหน้ากากอนามัยทะลัก

ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เผยปัจจุบันพนักงานในโรงงานสิ่งทอมีรายได้เสริมจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ 2009 อย่างมาก เนื่องจากมียอดคำสั่งซื้อหน้ากากอนามัยมากจนผลิตไม่ทัน ...



นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า ปัจจุบันพนักงานในโรงงานสิ่งทอมีรายได้เสริมจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ 2009 อย่างมาก เนื่องจากมียอดคำสั่งซื้อหน้ากากอนามัยมากจนผลิตไม่ทัน ดังนั้น ผู้ผลิตต่างเพิ่มเวลาผลิตสินค้า ส่งผลให้เอสเอ็มอีบางรายดำเนินกิจการจนอยู่รอดอีกระยะหนึ่งจากเดิมที่ไม่ ค่อยมีรายได้จากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก

ทั้งนี้ช่วง 5 เดือนแรกของปีมีโรงงานสิ่งทอปิดกิจการแล้ว 40 ราย มีพนักงาน 3,000 คน เพราะไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามความต้องการของลูกค้าได้ ส่วนที่เปิดกิจการใหม่มี 56 ราย จ้างงานเพิ่ม 6,000 คน ซึ่งจำนวนหนึ่งเป็นผู้ที่ปิดกิจการแล้วหาผู้ร่วมทุนใหม่ ส่วนใหญ่เป็นตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป โรงงานทอผ้า โดยสถานการณ์ยอดขายของสิ่งทอและเครื่อง นุ่งห่มครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มที่ดีกว่าครึ่งแรก คาดว่ารายได้ส่งออกทั้งปีอยู่ที่ 7,100-7,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่ำกว่าปีก่อน 7-10% ขณะเดียวกันโรงงานยังขาดแคลนแรงงานอีก 1-2 หมื่นคน ส่วนใหญ่เป็นวิศวะเคมีสิ่งทอออกแบบผลิตภัณฑ์

นายวิรัตน์กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอให้ความสำคัญกับตลาดอาเซียนมาก เนื่องจากมีมูลค่าตลาด 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี ขณะที่ไทยส่งออก 1,000 ล้านเหรียญฯ และสินค้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียน 3,000 ล้านเหรียญฯ ดังนั้น สินค้าที่เหลืออีก 1.2 หมื่นล้านเหรียญฯมาจากประเทศอื่น เช่น จีน อียู ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เบื้องต้นเอกชนไทยเร่งสำรวจความต้องการสินค้าสิ่งทอของผู้บริโภคในประเทศอา เซียนเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม โดยเฉพาะสินค้าที่นำเข้าจากนอกกลุ่มประเทศอาเซียน.

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/eco/21439

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1เอ็น1)


คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1เอ็น1)
ฉบับที่ 8
วันที่ 9 กรกฎาคม 2552
--------------------------

ปัจจุบันการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลกของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1เอ็น 1) ได้แผ่ขยายไปอย่างรวดเร็ว โดยโรคมีความรุนแรงปานกลาง ประเทศไทยส่วนใหญ่พบในกรุงเทพฯและปริมณฑล และมีรายงานมากกว่า 60 จังหวัดแล้ว ขณะนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน นักศึกษา รองมาเป็นคนวัยทำงาน

คำแนะนำทั่วไป
ประชาชนทุกคนควรมีความรู้ความเข้าใจโรคที่ถูกต้อง ไม่ตื่นตระหนก รู้วิธีการป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ โดยการติดตามข้อมูลคำแนะนำต่างๆ จากกระทรวงสาธารณสุข รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารมีประโยชน์ ผัก ผลไม้ ไข่ นม นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง หมั่นล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และฝึกนิสัยไม่ใช้มือแคะจมูก ขยี้ตา หรือจับต้องใบหน้า ถ้าจำเป็นควรใช้กระดาทิชชูจะปลอดภัยกว่า ดูแลตนเองหรือคนในครอบครัวที่ป่วยได้ และป้องกันไม่แพร่เชื้อให้คนรอบข้าง โดยการหยุดเรียน หยุดงาน ปิดปากจูกเวลาไอจามด้วยกระดาษทิชชู สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่กับผู้อื่น และหมั่นล้างมือบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยควบคุมไม่ให้เกิดการระบาด และลดผลกระทบด้านต่างๆ ได้มากที่สุด

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จะมีอาการป่วยใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่เกิดขึ้นทุกปี คือมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร บางรายอาจมีอาเจียน ท้องเสียร่วมด้วย มีรายงานอาการสมองอักเสบ 4-5 ราย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (95%) จะมีอาการทุเลาขึ้นตามลำดับ คือ ไข้ลดลง ไอน้อยลง รับประทานอาหารได้มากขึ้น และหายป่วยภายใน 5-7 วัน จึงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

ผู้ป่วยน้อยราย (5%) ที่มีอาการป่วยรุนแรงซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิต คือ ไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วัน ซึมหรืออ่อนเพลียมาก รับประทานอาหารไม่ได้ ไอมากจนเจ็บหน้าอก เกิดปอดบวม (หายใจถี่ หอบ เหนื่อย) นั้นพบว่า ส่วนใหญ่ (70%) เป็นกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยง เช่น มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ โรคเลือด ไต เบาหวาน ฯลฯ) ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ (โรคมะเร็ง ฯลฯ) โรคอ้วน ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หญิงมีครรภ์ อย่างไรก็ตาม มีส่วนหนึ่ง (30%) ที่มีอาการรุนแรงแต่ไม่สามารถสอบสวนหาภาวะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงและผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จึงต้องรีบไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ทันที

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงที่บ้าน
หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูงมาก ตัวไม่ร้อนจัด ไม่ซึมหรืออ่อนเพลียมาก และพอรับประทานอาหารได้ สามารถดูแลรักษาตัวที่บ้านได้ โดยปฏิบัติดังนี้

• ผู้ป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน และพักอยู่กับบ้านหรือหอพัก ไม่ออกไปนอกบ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วันหลังวันเริ่มป่วย หรือหลังจากหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ
• แจ้งสถานศึกษาหรือที่ทำงานทราบ เพื่อจะได้เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ และป้องกันควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที
• ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซทามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของเภสัชกร หรือสถานบริการทางการแพทย์ หรือคำสั่งของแพทย์
• ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นพบเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ต้องรับประทานทานยาให้หมดตามที่แพทย์สั่ง
• เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อยเป็นระยะ โดยการเช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลำตัว เน้นการเช็ดลดไข้บริเวณหน้าผาก ซอกรักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนขา และใช้ผ้าห่มปิดหน้าอกระหว่างเช็ดแขนขา เพื่อไม่ให้หนาวเย็นจนเสี่ยงเกิดปอดบวม หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ต้องหยุดเช็ดตัว และห่มผ้าให้อบอุ่น
• ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด
• พยายามรับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง
• นอนพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
หากอาการป่วยรุนแรงขึ้น เช่น ไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วัน ซึมหรืออ่อนเพลียมาก รับประทานอาหารไม่ได้ ไอมากจนเจ็บหน้าอก เกิดปอดบวม (หายใจถี่ หอบ เหนื่อย) ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที

การแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆ ในบ้าน
• ผู้ป่วยควรนอนแยกห้อง ไม่ออกไปนอกห้องจนกว่าจะหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ
• รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น หากอาการทุเลาแล้ว อาจรับประทานอาหารร่วมกันได้ แต่ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
• ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
• ปิดปากจมูก เวลาไอ จาม ด้วยกระดาษทิชชู แล้วทิ้งทิชชูลงในถังขยะ และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่หรือบ่อยๆ
• ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นด้วยการสวมหน้ากากอนามัย
• ผู้ดูแลผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย
• คนอื่น ๆ ควรอยู่ไกลจากผู้ป่วยประมาณ 1-2 เมตร หรืออย่างน้อยประมาณหนึ่งช่วงแขน

แหล่งข้อมูลการติดต่อเพื่อปรึกษากับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่
1. กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0 2245 8106, 0 2246 0358 และ 0 2354 1836
2. ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง

ติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th และหากมีข้อสงสัย ติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333 และศูนย์บริการข้อมูลฮ็อตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994 ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา: เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข