ลิงค์ผู้สนับสนุน

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

"เจี๊ยบ ลลนา" ชี้ไข้หวัดหวัดใหญ่ 2009 ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ที่กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันนี้(4 ส.ค.) น.ส.ลลนา ก้องธรนินทร์ หรือ เจี๊ยบ นางสาวไทยประจำปี 2549 ในฐานะนักศึกษาแพทย์ปี 4 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เดินทางมาพร้อมกับ 'กานต์ชนกคลินิก' เพื่อมอบเจลทำความสะอาดมือให้กับ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุขจำนวน 1,000 ชุด เพื่อนำไปใช้ในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

น.ส.ลลนา กล่าวว่า ไม่รู้สึกกลัวโรคนี้ เพราะคิดว่าไม่อันตราย เพราะเจี๊ยบไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง เพราะไม่ได้มีโรคประจำตัว แต่ระหว่างที่เรียน ก็มีวิธีป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ เช่น ล้างมือ สวมหน้ากาก ซึ่งตอนอยู่ในโรงพยาบาลอาจารย์ ก็จะแนะนำให้ทุกคนสวมหน้ากาก เพราะอาจติดเชื้อจากผู้มาใช้บริการได้ ทั้งนี้หากมีอาการไข้สูง ควรรีบไปพบแพทย์ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า เพื่อน ๆ บางคนมีไข้ แต่พอเก็บตัวอย่างเชื้อไปตรวจก็ไม่พบเชื้อ หรือบางคนก็เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ส่วนเจี๊ยบมีอาการป่วยนิดหน่อย แต่ไม่ได้เก็บเชื้อไปตรวจเพราะเป็นไม่กี่วัน และตอนนี้หายแล้ว อย่างไรก็ตามเท่าที่ดูหลายคนยังมีความตื่นตระหนกอยู่ เช่น พ่อแม่บางคน ไม่กล้าพาลูกที่ยังเล็กอยู่ออกนอกบ้าน ถึงขั้นหยุดกิจกรรมนอกบ้านไปเลย เพราะกลัวจะติดโรค จึงอยากบอกว่า โรคนี้ได้น่ากลัวอย่างที่คิดสิ่งสำคัญอยากให้รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ถ้าป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที.

ที่มา: http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=38&contentID=12234

ใช้ "เฟอร์เรท" เสี่ยงตายแทนมนุษย์ เพื่อทดสอบวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

นับวันตัวเลขของยอดผู้ติดเชื้อไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 จะพุ่งไม่หยุด ทั่วโลกต่างเร่งหา "วัคซีน" มาใช้ป้องกัน ซึ่งกว่าที่จะนำมาใช้กับคนเราได้นั้น ต้องนำไปทดสอบกับสัตว์อย่าง "หนู" เพื่อ "ลองยา"..

นับวันตัวเลขของยอดผู้ติดเชื้อไข้หวัดสายพันธุ์ ใหม่ 2009 จะพุ่งไม่หยุด ซึ่งทั่วโลกต่างเร่งหาแนวทางทำ "วัคซีน" เพื่อมาใช้ป้องกัน ซึ่งในการทำยาวัคซีนแต่ละชนิด กว่าที่จะนำมาใช้กับคนเราได้นั้น ต้องนำไปทดสอบกับสัตว์อย่าง "หนู" เพื่อ "ลองยา"

ส่วนวัคซีนไข้หวัดฯ2009 มีความแตกต่างกว่าตรงที่หลังการทดลองในหนูแล้วเสร็จ เพื่อให้ได้ผลที่แน่นอน ขั้นตอนต่อไปก็จะทดสอบในสัตว์ที่นักวิจัยลงความเห็นว่า มีความคล้ายมนุษย์ อย่างตัว "เฟอร์เรท" ซึ่งน้อยคนอาจยังไม่รู้ว่ามันคือตัวอะไร?

...เพื่อให้หลายคนได้รู้จักสัตว์ผู้ "เสี่ยงตายแทนมนุษย์" "หลายชีวิต" จึงขอเจาะวิถีชีวิตของมันไปพร้อมๆกัน

" เฟอร์เรท" (Ferret) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีถิ่นกำเนิดอยู่ในหลายทวีป ทั้ง สหรัฐอเมริกา ยุโรป และ เอเชีย อาศัยตามทุ่งหญ้าขึ้นสูง บริเวณต้นไม้เล็กๆ หรือพุ่มไม้รกรุงรัง ตามรอยแนวป่า ออกหากินล่าเหยื่ออย่าง กระต่าย และ นกที่ทำรังอยู่ บนดิน เวลากลางคืน ด้วยการกาง เล็บ ตะปบ หากนำมาเลี้ยงสามารถให้แอปเปิ้ล กล้วยน้ำว้า และอาหารสำเร็จรูปได้

...หลังนำ มาฝึกให้เชื่อง จะมีนิสัย ขี้เล่น ซุกซน แต่ก็ ชอบขุดคุ้ย เหตุนี้จึงทำให้พวกมันถูกจับมาเลี้ยงของพวกกลุ่มนิยม "สัตว์แปลก" แต่บางครั้งจะมีอารมณ์ฉุนเฉียวดุร้าย สามารถรับรู้ได้จาก การทำงานต่อมกลิ่น ซึ่งอยู่ตามรูขุมขนจะโชยค่อนข้างรุนแรง พร้อมกับอาการกระฟัดกระเฟียด ทำให้ความน่าชังกลับกลายเป็นความน่ากลัวทันที!

สำหรับลักษณะของ ตัว "ลองยา" มีโครงหน้าคล้ายกับ พังพอน แมวน้ำ มี เขี้ยว ฟัน อุ้งเท้าเล็บเหมือนแมว ขน สีดำ น้ำตาลเข้ม ครีม ช่วงระยะหลังมีการปรับปรุงสายพันธุ์ กระทั่งปัจจุบันมี สีขาว และแฟนซี หาง ยาวขนพู่แหลม หากอยู่ในที่อากาศเย็นขนจะยาวฟูมาก ถ้า อากาศอบอ้าวปรับตัวด้วยการผลัดขน ให้สั้นลง และ แลบลิ้นให้น้ำหยดเพื่อคลายความร้อน

...เราสามารถจับมันอาบน้ำเหมือนกับสุนัขได้ ซึ่งจะทำให้มันอารมณ์ดีขี้อ้อน นัวเนียอยู่ใกล้ๆ...

สัตว์ผู้เสียสละ (อย่างไม่สมยอม) โตเต็มที่ หนักประมาณ 2,000 กรัม ความยาววัดจากหัวถึงหาง 48-56 ซม. ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย อายุ 6-8 เดือน จะพร้อมผสมพันธุ์ รับรู้ได้จากการ "ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์" ออกมา ส่วนตัวเมียพร้อมเพิ่มประ-ชากรเมื่ออายุ 8-12 เดือน ซึ่งฤดูที่ "ธรรมชาติเรียกร้อง" อยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน ตั้งท้อง 39-46 วัน ตกลูกเฉลี่ยครั้งละ 2-8 ตัว

ลูกเฟอร์เรท ตัวจะเล็กมากน้ำหนักเฉลี่ยเพียง 8-10 กรัม อายุ 30-35 วัน จะเริ่มลืมตา หย่านม 5-6 สัปดาห์ จากนั้นพอได้ 3 เดือน สมาชิกของครอบครัวทั้งหมดจะเริ่มแยกย้ายออกไปหาแหล่งที่อยู่แล้วเริ่มชีวิต ใหม่ กระทั่งอายุได้ 5 ปี จึงหยุดขยายเผ่าพันธุ์ และเบื่อ (ตาย) โลกกลมๆนี้ช่วงอายุเฉลี่ย 6-11 ปี แต่ก็ขึ้นอยู่กับอาหารและการเลี้ยงดู

ใครที่กำลังเผลอใจคิดจะเลี้ยง "หลายชีวิต" แนะนำว่า มันเหมาะที่จะเป็นตัวลองยาน่ะดีที่สุด เพราะโรคที่เกิดขึ้นกับเฟอร์เรทได้ง่ายก็คือ ไข้หัดสุนัข ที่สามารถติดต่อสู่คนได้ทางการสัมผัสและหายใจ!!!...

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/edu/23965

นครพนมพบผู้ป่วยไข้หวัด2009 1 รายเสียชีวิต-หญิง16ปีชาวโคราชตั้งท้อง6เดือนเข้ารพ.เสียชีวิตแล้ว

คมชัดลึก :สสจ.นครพนมเผยพบผู้ป่วยหวัด 1 รายเสียชีวิต ชี้สต๊อกยาโอเชลทามิเวียร์ต้านไวรัสมีทุกโรงพยาบาล 12 อำเภอรับมือหวัด 2009 ได้อย่างเพียงพอ แต่ยังไม่มีโรงพยาบาลเอกชนหรือคลินิกเข้าร่วมโครงการ รองปลัดสธ.เผยยอดผู้เสียชีวิตน้อยลง ภาคอีสานหลายจังหวัดสถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วงกำชับบุคคลากรสาธารณสุขทุก แห่งเตรียมรับมือการแพร่ระบาดรอบสองในช่วงฤดูหนาว หมอประเสริฐ เสนอ สธ. ตั้ง คกก.วิจัยศึกษา“ หวัด 2009” ตั้งแต่ตัวเชื้อ การรักษา ปัจจัยเสี่ยง ไม่เว้นแม้แต่การสื่อสารที่พลาด

(3ส.ค.) นายแพทย์เด่นชัย ศรกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนมเปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคไข้หวัด 2009 ในพื้นที่จังหวัดนครพนม ทุกอำเภอพบผู้ป่วยติดเชื้อแล้ว 36 คน และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 รายในเขตพื้นที่อำเภอนาแกเป็นชายวัยกลางคน และมีโรคแทรกซ้อนลิ้นหัวใจรั่วซึ่งผู้ป่วยที่พบจะเป็นเขตอำเภอรอบนอก

สำหรับสต๊อกยาโอเซลทามิเวียร์ต้านไวรัสหวัด 2009 ที่สำนักงานสาธารณสุขนครพนมได้รับมีจำนวนเพียงพอรับมือไข้หวัด 2009 ได้ ขณะที่ยาต้านไวรัสดังกล่าวได้กระจายลงสู่ทุกโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วจังหวัด โดยโรงพยาบาลจังหวัดนครพนม ได้จำนวน 2,000 เม็ด สต๊อกยากลางสำนักงานสาธารณสุขนครพนมมีจำนวน 8,000 เม็ด ส่วนโรงพยาบาลอำเภอทุกอำเภอและโรงพยาบาลค่ายพระยอดเมืองขวาง โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมมีสต๊อกยาแห่งละ 600 เม็ดซึ่งเพียงพอรับมือไข้หวัด 2009 ในขณะนี้ ในส่วนคลีนิคในพื้นที่เนื่องจากไม่มีโรงพยาบาลเอกชนขณะนี้ยังไม่มีคลินิกใดเข้าร่วมโครงการแต่ประการใด

หญิง16ปีชาวโคราชตั้งท้อง6เดือนเสียชีวิตแล้ว

เมื่อเวลา 15.30 น.นพ.กวี ไชยศิริ ผอ.รพ.มหาราช นครราชสีมา เปิดเผยภายหลังได้รับแจ้งจาก หน.พยาบาล ประจำหอผู้ป่วยหนัก ไอซียู ชั้น 7 อาคาร 8 ชั้นหลังเก่า ว่า ผู้ป่วยไข้หวัด ที่ถูกส่งตัวมาจาก รพ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เป็นหญิง อายุ 16 ปี ตั้งครรถ์ 6 เดือน เมื่อประมาณช่วงกลางเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา จากการตรวจผลเป็นลบ ซึ่งแสดงว่าผู้ป่วยรายนี้ไม่ได้ติดเชื้อไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ แต่เป็นที่น่าเสียดาย ผู้ป่วยได้แท้งลูก สาเหตุเกิดจากการหญิงที่ตั้งครรถ์อายุน้อย และมดลูกไม่แข็งแรง โดยผู้ตายมีอาการปอดอักเสบต้องใช้เครื่องช่วยหายในตลอดเวลา ส่งผลให้ลูกในครรถ์ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเป็นเหตุให้เสียชีวิตในเวลาต่อ มา ซึ่งทางคณะแพทย์ได้พยายามยื้อชีวิตอย่างเต็มที่ แต่ผู้ป่วยซึ่งมีอาการปอดอักเสบ ทำให้เนื้อปอดบวมจนแตก พร้อมกับการหายใจล้มเหลว ล่าสุดมีผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษาตัวในหอผู้ป่วยหนัก 7 ราย ซึ่งแพทย์ต้องเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด

รองปลัด สธ.เตรียมรับมือหวัด2009เผยอีสานน่าห่วง

เมื่อเวลา 16.00 น. นายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์พิสิทธิ์ เอื้อวงศ์กูล นายแพทย์สาธารณสุขจ.กาฬสินธุ์ นายแพทย์สมปอง เจริญวัฒน์ ผอ.โรงพยาบาลกาฬสินธุ์พร้อมคณะเดินทางเข้าเตรียมเยี่ยมการเฝ้าระวังการแพร่ ระบาด การดูแลรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ สายพันธ์ใหม่ภายในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ พร้อมทั้งมอบนโยบายและให้กำลังใจกับบุคลากรสาธารณสุขทั้ง 18 อำเภอของ จ.กาฬสินธุ์ ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

นายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ของไข้หวัดใหญ่ สายพันธ์ใหม่ 2009 ทั่วประเทศขณะนี้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นมาก เพราะจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อลดน้อยลง และจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตก็ลดน้อยลงอย่างมากจากที่คาดการณ์ไว้ ส่วนการลงพื้นที่ในจ.ขอนแก่นและจ.กาฬสินธุ์วันนี้เป็นการเดินทางมาตรวจ เยี่ยมและให้กับลังใจตลอดจนมอบนโยบายให้กับบุคลากรสาธารณสุขทุกคน

ทั้งนี้พบว่าโรงพยาบาลสถานีอนามัยได้ช่วยกันดูแลรักษาตามแนวทาง ของกระทรวงสาธารณสุขและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จนทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 คลี่คลายลง แต่ก็มีหลายจังหวัดใน ภาคอีสานยังมีสถานการณ์ที่น่าห่วงอยู่เพราะยังพบการติดเชื้อพร้อมๆกันหลาย ราย ส่วนจ.กาฬสินธุ์เท่าที่รับทราบสถานการณ์ยังไม่น่าห่วงที่สำคัญยังไม่พบผู้ เสียชีวิต

นายแพทย์จักรธรรม กล่าวต่อว่า ขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มองการไว้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันโรคไปถึงคลื่นลูกที่สองแล้ว หรือการแพร่ระบาดในรอบที่สอง เนื่องจากนักวิชาการได้ออกมาคาดการณ์และระบุว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่อาจจะรุนแรงขึ้นอีกในช่วงฤดูหนาว คือเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ดังนั้นทางกระทรงจึงได้กำชับให้บุคลากรในทุกจังหวัดเร่ง ดำเนินการลดจำนวนการเกิดของโรคและติดเชื้อรายใหม่ให้ได้มากที่สุด เช่น คาดการณ์ไว้ว่าจะมีผู้ป่วยติดเชื้อ 100 ราย ก็ให้เหลือสัก 40 รายโดยเน้นยุทธวิธีให้อสม.ซึ่งมีอยู่ 900,000 คนทั่วประเทศช่วยกันรณรงค์และออกให้ความรู้กับประชาชนอย่างทั่วถึง งนี้ผู้ป่วยที่มีอาการไข้สูงหรือติดเชื้อ หากกินยารักษาภายใน 48 ชั่วโมงแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นจะต้องได้รับการรักษาทันที

ส่วนการดำเนินการแจกจ่ายยาต้านไวรัสขณะนี้ทางกระทรวงฯได้ดำเนินการแจก จ่ายยาไปยังโรงพยาบาลและคลินิกในทุกแห่งแล้ว ยืนยันว่าเพียงพอต่อความต้องการอย่างแน่นอน เพราะขณะนี้เราสามารถผลิตยาได้เองแล้ว แต่คลินิกต่างๆที่รับยาจะต้องเคร่งครัดในกฎเหล็กทั้ง 8 ข้อของคณะกรรมการด้วย
ทั้งนี้หากการเจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แบบนี้อย่างต่อเนื่องคาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นตามลำดับ เพราะฉะนั้นประชาชนควรอุ่นใจและไม่ต้องวิตกกังวลมากเกินไป

ด้านนายแพทย์พิสิทธิ์ เอื้อวงศ์กูล นายแพทย์สาธารณสุข จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธ์ใหม่ 2009 ในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ขณะนี้มีผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 56 ราย โดยส่วนใหญ่รักษาหายแล้ว ส่วนที่เหลืออาการไม่น่าห่วง และยังไม่มีผู้เสียชีวิต อย่างไรก็ตามสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้ เน้นย้ำให้บุคคลากรในโรงพยาบาลอำเภอ สถานีอนามัย ตลอดจนอสม.ทุกคน ทุกแห่งให้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันโรคดังกล่าว โดยให้อสม.นำข้อมูลไปบอกต่อกับเพื่อนบ้านปากต่อปากและหากพบผู้ป่วยหรือต้อง สงสัยก็ให้รายเข้ามาทันที ส่วนโรงพยาบาลขณะนี้ได้กำชับให้จัดจุดคัดกรองผู้ป่วยไว้ทุกแห่ง
พร้อมทั้งได้แจกจ่ายยาต้านไวรัสไปให้โรงพยาบาลและคลินิกทุกแห่งแล้ว

หมอประเสริฐ ” เสนอ สธ. ตั้ง คกก.วิจัยศึกษา “ หวัด 2009

ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อเวลา 17.00 น. นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการการแพทย์และสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นชอบเสนอให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับคณะอนุกรรมการฯ ชุดนี้ ตั้งคณะกรรมการขึ้นศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นมา และไม่เคยมีองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้มาก่อน ซึ่งผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะรวบรวมเป็นความรู้ทางวิชาการเพื่อใช้ประโยชน์ ในอนาคต สำหรับประเด็นในการศึกษาวิจัยจะวิจัยในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตัวเชื้อ ภาวะโรค การรักษา

นพ.ประเสริฐ กล่าวต่อว่า การวิจัยเกี่ยวกับตัวเชื้อไวรัสชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 นั้น จะศึกษาตั้งแต่ลักษณะพันธุกรรมเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของเชื้อนี้ ตลอดจนยังเป็นการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้อที่นำไปสู่การกลาย พันธุ์ที่อาจนำมาถึงความรุนแรงในการก่อโรคได้ การศึกษากลไกการสร้างภูมิกันและการตอบสนองต่อการติดเชื้อไข้หวัด 2009 ที่ระบาดไปทั่วโลก การศึกษาความรุนแรงของโรคในผู้ป่วย พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นจากตัวเชื้อที่มีทั้งอาการรุนแรงและไม่รุนแรง ทั้งนี้การวิจัยนี้จะนำไปสู่การสร้างโมเดลเพื่อพยากรณ์สถานการณ์การระบาดของ เชื้อและการรับมือป้องกันในอนาคต

ส่วนการวิจัยในด้านการป้องกัน จะมีการทบทวนและประเมินมาตรการในการป้องกันโรคที่ได้มีการนำมาใช้ในการ ป้องกันการแพร่ระบาดในครั้งนี้ เช่น การใช่เทอร์โมสแกนในการวัดอุณหภูมิร่างกาย มาตรการการปิดโรงเรียน เป็นต้น การศึกษาแนวทางการนำยาต้านไวรัสมาใช้ในการป้องกันการติดเชื้อหวัด 2009 และความคุ้มค่าในการนำมาใช้ นอกจากนี้ยังศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบป้องกันโรคโดยประชาชนเน้นการมีส่วนร่วม

นพ.ประเสริฐ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้การวิจัยนี้ยังศึกษาด้านการรักษาโรค มาตรการรักษาที่นำมาใช้ เช่น การใช้ชุดทดสอบเพื่อตรวจหาเชื้อซึ่งจะดูในเรื่องแม่นยำในการตรวจหาเชื้อ ทั้งนี้นำไปสู่การวิจัยและพัฒนาชุดทดสอบเพื่อใช้ในการเฝ้าระวังโรค และตรวจวินิจฉัยโรคที่รวดเร็ว การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลการลุกลามของตัวเชื้อที่ส่งผลให้เกิดภาวะโรคที่ รุนแรง การศึกษาทางคลินิกและการพัฒนาของตัวโรคในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ทั้งกลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตและมีอาการที่พบได้น้อย

นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นควรให้มีการศึกษาวิจัยด้านการสื่อสารความ เสี่ยงด้วย โดยเฉพาะการศึกษาผลกระทบของการให้ข่าวที่คลาดเคลื่อนของบุคคลต่างๆ อาทิ นักการเมือง ผู้บริหาร นักวิชาการ ต่อการปฏิบัติในการป้องกันโรค

ขอนแก่นเลิกแยกผู้ป่วยหวัดใหญ่-หวัด2009

ที่ห้องประชุมเสียงแคน ศาลากลาง จ.ขอนแก่น นายอนุกูล ตั้งคณานุกูลชัย รองผู้ว่าราชการ จ.ขอนแก่น เปิดเผยในงานแถลงข่าวการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานภาคอีสาน ประจำปี 2552 ถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ว่า ปัจจุบันนี้ไม่มีการแยกแล้วว่าเป็นผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ธรรมดา หรือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพราะจากข้อเท็จจริงที่ปรากฎว่าพบว่า ผู้ป่วยเป็นโรคของไข้หวัดใหญ่ธรรมดากว่า 80% จะเป็นผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 เพราะฉะนั้นการรักษาของแพทย์ก็จะรักษาในลักษณะเดียวกันทั้งหมด

สำหรับยอดผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ใน จ.ขอนแก่น ขณะนี้มีประมาณ 3,000 กว่าคน จากประชากรทั้งหมดราว 1.7 ล้านคน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบตัวเลขผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดผู้ป่วยอยู่ในอัตราเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าตระหนกตกใจมากนัก เพียงแต่ว่าเรื่องของการคัดแยกผู้ป่วย กับการรักษาเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะในสถานศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ทางผู้บริหาร ครู อาจารย์จะต้องมีการคัดกรองเด็กนักเรียน และต้องมีการตรวจสอบว่า ถ้าเด็กนักเรียนมีอาการไข้สูง อุณหภูมิร่างกายเกินกว่า 38 องศาเซลเซียสก็จะต้องคัดแยกออกไป และส่งต่อมาที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจรักษาต่อไป

ด้านนางจุฑามาศ บุญอาจ ผอ.สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคที่ 6 ขอนแก่น เปิดเผยว่า ขณะนี้สถาบันฯ ได้ทำการฝึกอบรมการผลิตเจลฆ่าเชื้อไข้หวัดใหญ่ ไปแล้ว 1 รุ่น และในวันที่ 7 ส.ค.นี้ จะทำการฝึกอบรมอีก 1 รุ่น แต่การฝึกอบรมนั้นจะเน้นให้ประชาชนนำไปผลิตใช้ในครัวเรือนมากกว่าเน้น จำหน่าย เนื่องจากหากจะผลิตเพื่อจำหน่ายต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบอีกหลายขั้นตอน แต่เพื่อสนองนโยบายของรัฐที่ต้องการสกัดการแพร่ระบาดของโรค จึงได้ทำการฝึกอบรมเพื่อนำผลิตใช้ในครัวเรือน

ที่มา: http://www.komchadluek.net/detail/20090803/22930/%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%8716%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%876%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E.%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7.html

พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่2009เสียชีวิตรายแรกในแอฟริกาใต้และอินเดีย

คมชัดลึก :พบผู้เสียชีวิตจากหวัด 09 รายแรกในแอฟริกาใต้ และอินเดีย แพทย์เร่งตรวจสอบเพิ่ม หาจุดเชื่อมโยง ผู้ป่วยรายนี้อายุ 22 ปี สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ขณะผลวิจัยทางการแพทย์ ระบุ ยาต้านไวรัสทั้งทามิฟลูและรีเลนซา ไม่ช่วยสกัดกั้นการติดเชื้อเอช1เอ็น1 ประเภทA แก่ประชาชน

เอเอฟพี รายงานว่า แอฟริกาใต้ซึ่งเป็นแหล่งแพร่ระบาดหนักของเชื้อไวรัสเอชไอวี ต้นตอของโรคเอดส์ ประกาศเมื่อวันจันทร์(3ส.ค.)ว่าพบผู้เสียชีวิตเพราะไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รายแรก เป็นนักศึกษาวัย 22 ปี ซึ่งเป็นคนหนุ่ม ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์

"นักศึกษารายนี้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา เราได้ทำการตรวจสอบร่างกายนักศึกษารายนี้เพิ่มเติม เพื่อให้มั่นใจถึงสาเหตุการตาย แต่การตรวจสอบช่วงที่ผ่านมา ยืนยันแล้วว่า เขามีเชื้อไวรัสเอช1เอ็น1 ประเภท "นายฟิเดล ฮาเดเบ โฆษกกระทรวงสาธารณสุขของแอฟริกาใต้ กล่าว

ทั้งนี้แอฟริกาใต้ ซึ่งประชากรมีสัดส่วนการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีสาเหตุของโรคเอดส์สูงที่สุดของ โลกเกือบ 19% ของจำนวนประชากร 49 ล้านคน ถือได้ว่าดินแดนแห่งนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นแหล่งระบาดรุนแรงของไวรัสเอ ช1เอ็น1 ประเภท Aต้นเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพราะคนส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และนับตั้งแต่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อวันที่ 14ก.ค.เป็นต้นมา ยอดผู้ติดเชื้อในแอฟริกาใต้ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 4 เท่า

ขณะ ที่ เจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านสาธารณสุขของอินเดีย ซึ่งไม่ยอมเปิดเผยชื่อระบุว่า เด็กสาวชาวอินเดียในเมืองปูเนวัย 14 ปี ซึ่งเป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ได้เสียชีวิตลงแล้ว หลังจากถูกนำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งได้เพียง 6 วัน เมื่อวันที่ 27 ก.ค.

อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีหน่วยงานด้านสาธารณสุขของเมืองหรือแม้แต่หน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยว ข้องออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับการรายงานข่าวชิ้นนี้ แต่สำนักข่าวเพรสส์ ทรัสต์ ออฟ อินเดีย ซึ่งเป็นสำนักงานข่าวภายในประเทศของอินเดีย รายงานว่า ก่อนที่เด็กสาวรายนี้ จะเสียชีวิต แพทย์ได้ให้เธอรับประทานยาโอเซลทามิเวียร์ ซึ่งเป็นยาต้านไวรัส แต่ร่างกายเธอไม่ตอบสนองการรักษาและเสียชีวิตเมื่อเย็นวันจันทร์ (3 ส.ค.)หลังจากการทำงานของอวัยวะหลายส่วนล้มเหลว

ขณะเดียวกัน คณะนักวิจัยกลุ่มหนึ่ง ได้นำเสนอรายงานในแอนนัลส์ ออฟ อินเตอร์นัล เมดิซินว่า การรักษาผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงติดต่อกันหลายสัปดาห์ด้วยยาทามิฟลูของโรช โฮลดิงส์ หรือยารีเลนซา ของแกล็กโซสมิธไคลน์ อาจทำให้ผู้ป่วยบางคนไม่แสดงอาการป่วยของไข้หวัดใหญ่ออกมาให้เห็นได้ แต่ยาเหล่านี้ ไม่ได้ช่วยสกัดกั้นประชาชนไม่ให้ติดเชื้อไวรัสเอช1เอ็น1 ที่เป็นต้นตอของไข้หวัดใหญ่

โดยผลการศึกษาในช่วงก่อนหน้านี้ ของคณะนักวิจัยชุดนี้ บ่งชี้ว่า ในจำนวนผู้ป่วยจำนวน 25 คนที่ได้รับการรักษา มีผู้ป่วยหนึ่งราย ที่ไม่มีอาการป่วยปรากฏให้เห็นหลังจากได้รับยาดังกล่าวไปแล้ว เพราะฉะนั้น การสำรองยาต้านไวรัสของทั่วโลกจึงไม่เพียงพอที่จะทำให้ทุกคนรอดพ้นจากการ เจ็บป่วยเพราะไข้หวัด ด้วยเหตุนี้ จึงควรให้ยาต้านไวรัสแก่ประชาชนบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ ก่อนเป็นกลุ่มแรก

เมื่อวันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก(ฮู) รายงานตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกมีจำนวนกว่า 134,000 คน มีผู้เสียชีวิตจำนวนกว่า 800 คนขณะที่วัคซีนที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อจะมาถึงมือผู้ป่วยในสหรัฐเร็วที่ สุดก็เดือนก.ย.นี้

ที่มา: http://www.komchadluek.net/detail/20090804/22973/%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%9409%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2.html