ลิงค์ผู้สนับสนุน

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

"สำนักระบาดวิทยา" ชี้สถานการณ์ระบาดของไข้หวัด 2009 แค่เริ่มต้น

"สำนักระบาดวิทยา" ชี้สถานการณ์ระบาดของหวัด 2009 ยังแค่เริ่มต้น เชื่อว่าเมื่อสิ้นสุดการแพร่ใน7เดือนข้างหน้า จะมีผู้ติดเชื้อสูงถึง15ล้านราย และเสียชีวิต 1.2 พันราย ...



วันนี้ (18ก.ค.) สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยร่วมกับสถานเอคอัคราชทูตอมเริกาประจำ ประเทศไทย และแผนกเรโทรไวโรโลยี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร-ฝ่ายสหรัฐ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การรายงานข่าวโรคติดต่ออุบัติใหม่" โดยมี นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบาดวิทยาสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ประธานคณะอนุกรรมการด้านวิชาการและการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ฯ จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และนพ.สมชาย พีระประกรณ์ เจ้าหน้าที่ชำนาญการองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ร่วมเสวนา

นพ. โสภณ กล่าวว่า โรคที่เข้าข่ายเป็นโรคอุบัติใหม่ คือโรคที่เกิดจากเชื้อโรคตัวใหม่ เช่นโรคซาร์ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ใหม่ เช่นโรคโปลิโอ โรคที่มีการระบาดในอดีตและมีการกลับมาระบาดอีกครั้ง เช่น โรคชิคุนกุนยา โรคที่เกิดจากเชื้อโรคการดื้อยา เช่น วัณโรค และ โรคที่เกิดจากอาวุธชีวภาพ เช่น โรคแอนแทรก ซึ่งตอนนี้โรคไข้หวัดใหญ่2009 ถือว่ามีการระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็วเพราะเพียง 6 สัปดาห์สามารถระบาดไปทั้ง 76จังหวัด โดยกลุ่มเสี่ยงจะพบในเด็กอายุ 11-20 ปี และอายุ 6-10 ปี โดยการแพร่ระบาดของเชื้อจะสามารถเพิ่มขึ้นแบบลูกโซ่หรือการเพิ่มแบบเท่าตัว โดยเฉลี่ย 1 คนจะสามารถแพร่เชื้อไปได้อีก 1.5-2 คน

"ขณะนี้ประเทศ ไทยถือเป็นช่วงขาขึ้นในการแพร่เชื้อเมื่อถึงจุดๆหนึ่งเชื้อจะทวีความรุนแรง มากขึ้นเรื่อยๆ โดยจากข้อมูลพบว่ามีผู้ติดเชื้อประมาณ 4พันรายแต่ตัวเลขจริงๆคาดว่าจะมีประมาณ 5 แสนราย อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเมื่อสิ้นสุดการแพร่ระบาดของเชื้อภายใน 6-7 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อสูงถึง 15 ล้านราย และเสียชีวิตประมาณ 1,200 ราย ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าผู้เสียชีวิตไว้เพียง 600 รายเท่านั้น" นพ.โสภณกล่าว

รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี กล่าวว่า การระบาดของโรคไข้หวัดจะมีการพัฒนาเกิดเป็นเชื้อตัวใหม่เกิดขึ้น เชื่อว่าหากมีระบบการแพทย์ที่ดีโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 จะหายไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะร้อยละ 90 พบว่าผู้ที่ป่วยจะไม่แสดงอาการรุนแรง และสามารถรักษาหายได้ ส่วนที่มีอาการรุนแรงเนื่องจากว่ามีโรคแทรกซ้อน ทั้งนี้นับว่าเป็นเรื่องดีที่ประเทศไทยมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกมาก่อน เพราะเมื่อเกิดสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่2009 ขึ้นทำให้ประชาชนมีการเตรียมตัวทำให้การดูแลง่ายขึ้น ส่วนปัญหาตอนนี้คงเป็นจำนวนตัวเลขผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นและการรายงานตัวเลขไม่ ได้สะท้อนความเป็นจริงแต่กลับเป็นการทำให้ประชาชนตกใจกลัวมากขึ้น

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/20450

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น