ลิงค์ผู้สนับสนุน

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สธ.เรียกประชุมคลีนิก แจกยาต้านไวรัสหวัด 2009 "โอเซลทามิเวียร์" 177 แห่งทั่วกทม.

อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเรียกประชุม 177 คลินิกทั่วกทม. ทำความเข้าใจมาตรการรักษาผู้ป่วยหวัด 09 พร้อม แจกยาโอเซลทามิเวียร์ให้คลินิกกว่า 100 แห่งที่ผ่านเกณฑ์ 8 ข้อ

เมื่อ เวลา 9.00 น. วันนี้ (2 ส.ค.) ที่ห้องประชุมชั้น 9 กระทรวงสาธารณสุข มีการประชุมแพทย์และเจ้าของคลินิกเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยมี นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นประธาน มีคลินิกเข้าร่วมจำนวน 177 แห่ง นพ.สมยศ กล่าวว่า การประชุมผู้ประกอบการและแพทย์ประจำคลินิกเอกชนในเขตกทม.วันนี้ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์และมาตรการในการให้การรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์แก่ผู้ป่วยต้องพิจารณา ให้เหมาะสมตามแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรืออาจติดเชื้อไข้ หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1 ( Clinical Practice guideline )นอกจากนี้ ยังได้ให้คลินิกทั้งหมดที่เข้าร่วมประชุมในวันนี้กรอกแบบฟอร์มตรวจสอบ คุณสมบัติว่าคลินิกแต่ละแห่งมีคุณสมบัติครบตามมาตรการ 8 ข้อ ที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนดตามคำมติของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์ และสาธารณสุขระดับชาติ มี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน กำหนดไว้หรือไม่ หากคลินิกใดมีคุณสมบัติครบถ้วนก็จะได้รับแจกยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ จำนวน 5 ชุด ชุดละ 10 เม็ด ไปเลยเพื่อสำรองไว้ในคลินิกและสามารถใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.เป็นต้นไปตรวจสอบคุณสมบัติ 8 ข้อคลินิกกทม.สอบผ่านเกินร้อย

อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการ 8 ข้อ ที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนดประกอบด้วย 1.คลินิกทั่วประเทศจะต้องมีแพทย์เป็นผู้ดูแลและเป็นผู้สั่งจ่ายยาได้ เท่านั้น 2.คลินิกจะต้องจัดส่งรายงานหลักฐานการจ่ายยาและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ ยา ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือกระทรวงสาธารณสุขทุกวัน 3.คลินิกจะต้องมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกแห่ง 4.คลินิกที่ต้องการมียาต้านไวรัสไว้ในคลินิก จะต้องสมัครเข้าร่วมโครงการและแพทย์ในคลินิกทุกคนจะต้องได้รับการอบรม และประเมินความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ 5.ให้คลินิกมีการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาล 6.คลินิกควรมีกลไกในการติดตามผู้ป่วยทุกรายหลังการรักษา 7.ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดระบบการตรวจสอบคลินิกที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งในเรื่องมาตรฐานการดูแลรักษา การสั่งจ่ายยา การป้องกันการติดเชื้อในคลินิกทุกเดือน และ8.คลินิกที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด เนื่องจากโรคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

"เท่าที่ตรวจสอบ คุณสมบัติในวันนี้ มีคลินิกมากกว่า 100 แห่งผ่านเกณฑ์ทั้ง 8 ข้อ ได้จ่ายยาให้ไปในวันนี้เลยเพื่อความรวดเร็วลดขั้นตอนการแจกจ่ายยา และได้มอบให้กองประกอบโรคศิลปะ จัดทำเอกสารแนะนำแนวทางป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในคลินิก แจกให้กับคลินิกที่เข้าร่วมประชุมปรับปรุงคลินิกของตนเองให้มีมาตรฐาน ปลอดภัยสำหรับประชาชน " นพ.สมยศ กล่าว

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/special/23679

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น